Silpa Bhirasri’s House
Italian artist Corrado Feroci (Silpa Bhirasri)
was the founder of Silpakorn University
and is regarded as the father of
Thai Contemporary Art
บ้านอาจารย์ศิลป์ พีระศรี
ศิลปินชาวอิตาเลียนคอราโด้ เฟโรซี่ (ศิลป์ พีระศรี) เป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย ศิลปากรและได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของประเทศไทย
July 2 at 4:17 PM · Bangkok
นิทรรศการ จริต- กรรม ได้เกิดขึ้นแล้ว ณ บ้านอาจารย์ฝรั่ง ( ศิลป พีระศรี) ภาพความงามของธรรมชาติ ทิวทัศน์ และ บรรยากาศที่เหมือนภาพถ่าย แต่ไม่ใช่ กลับเป็นภาพวาดที่ผ่านปลายพู่กันของอาจารย์ 3 ท่าน 3 เทคนิค ( จิตรกรรมสีน้ำ สีน้ำมัน และสีอครีลิค ) โดย อาจารย์ ชัยฤทธิ์ , อาจารย์จักรกฤษณ์, และ อาจารย์อิศเรศ สุดยอดฝีมือ ทั้ง 3 ท่าน
งานนิทรรศการเริ่มตั้งแต่วันนี้ จนถึง 30 กรกฎาคม 2019 ทุกวันไม่เว้นวันหยุดค่ะ ชมได้ตั้งแต่เช้า จรดค่ำ ( 7.00 am - 7 p.m ) อย่าพลาดโอกาสนะคะ ( Free entrance )
The exhibition of Ja -Rit -Ta - Kam ( Mind - Action ) has already occurred at Baan Ajarn Farang (Silpa Bhirasri’s Place ) images that are like photos, but the fact , they are the paintings through the brushstrokes of 3 teachers by Ajarn Chaiyarit, Ajarn Jakkrit, and Ajarn Isares
The exhibition starts from today until 30 July 2019 every day and holidays since 7.00 am - 7 p.m Do not miss it !! (Free entrance ka )
# Ja - Rit - Ta - Kam ( Mind - Action )
# Silpa Bhirasri’s place
# บ้านอาจารย์ฝรั่ง ( ศิลป พีระศรี )
The exhibition of crit - karma has happened at the house of master foreigner (Art SI). The Beauty Picture of nature, scenery and atmosphere like photos, but not back to the painting that passed the end of the brush of the Master 3 SIR 3 Technique (Watercolor Painting Oil and acrylic) by master chai, master of kingdom, and master,. The 3 skills.
The exhibition starts from today until July 30, 2019 every day, no holiday. Watch from the morning to the evening (7.00 am-7 P. M) don't miss out on the chance. (free entrance)
The exhibition of Ja -Rit -Ta - Kam ( Mind - Action ) has already occurred at Baan Ajarn Farang (Silpa Bhirasri’s Place ) images that are like photos, but the fact , they are the paintings through the brushstrokes of 3 teachers by Ajarn Chaiyarit, Ajarn Jakkrit, and Ajarn Isares
The exhibition starts from today until 30 July 2019 every day and holidays since 7.00 am - 7 p.m Do not miss it !! (Free entrance ka )
Chatchanok Dulyarat: President
คุณฉัตรชนก ดุลยรัตน์ : ประธานบริหาร บ้านอาจารย์ฝรั่ง
Artists
อ.อิศเรศ วงศ์สิงห์ Issared Wongsing
อ.จักรกฤษณ์ ศรีสงคราม Jakkrit Srisongkram
อ.ชัยฤทธิ์ ศรีสง่าสมบูรณ์ Chairit Srisa-ngasomboon.
Janine Yasovant, MPA
I had an interview with Chatchanok Dulyarat, an alumnus of SilpakornUniversity, who is responsible for renovating and maintaining Silpa Bhirasri’s House.
Here is the interview
JY: Please tell us the story of Baan Ajarn Farang (Silpa Bhirasri’s House).
CD: Initially, Silpa Bhirasri’s House used to be one of the houses in the Manor of Phaya Burut Rattana Ratcha Panlop (Nop Krailerk), a high-ranking civil officer, who served King Rama V to King Rama VII. The land was in fact given by King Rama V. This house is more than 100 years old. In 1923 (during the reign of the King Rama VI), an Italian artist Corrado Feroci (Silpa Bhirasri) who at that time was 29 years old and lived in Florence, Italy, received an invitation from the King Rama VI to be an instructor of sculpting and bronze casting for Thai civil officers. The words “Ajarn Farang” became his new name instead of his Italian one from then on because Thai people at that time had trouble pronouncing foreign languages correctly. The Thai government rented this house for him to stay with his family. He stayed in this house for eight years. This is the history Thai people should know because Professor Silpa Bhirasri was an important person as he did so many beneficial things for art in Thailand. Many of his works can be seen in Thailand including art curricula, literature, research and especially his statuary.
JY: What is the reason for opening Baan Ajarn Farang to the public?
CD: In 2017, the office of Internal Audit of the Thai Army and some alumni of SilpakornUniversity found the location of Baan Ajarn Farang. An old photo from Silpa Bhirasri’s family in Italy was sent concerning the death of Isabella who was Silpa Bhirasri’s daughter. That photo was taken at the house. This is the reason why Baan Ajarn Farang was opened since then. The house was taken care of and maintained by a few soldiers from the office of Internal Audit. The house was treated like the museum of Silpa Bhirasri. As the house opened only on Wednesdays, people came to visit less and it eventually closed down.
In March 2018, the office of Internal Audit selected a suitable person to look after and maintain this house. I was chosen and this was the greatest honor of my life. I, Chatchanok Dulyarat, graduated from the faculty of Education, SilpakornUniversity. I also invited two of my friends to renovate this house. One is the Interior designer Supakij Suthiphithak and another one is the architect Boonchai Pipatchukiet. Both graduated from ChulalongkornUniversity. The three of us attempted to change this house to be a home gallery. The purpose is to provide the biography and exhibit the works of Professor Silpa Bhirasri. Besides the fact that that this house contains memorable history, we would like people to enjoy looking at art works with ease. Moreover, I invited “Craftman”, an exceptional coffee shop, to open a branch at Silpa Bhirasri’s house. Anyone who visits here will find a suitable place to enjoy good coffee and food before or after visiting the gallery.
จานีน ยโสวันต์
ดิฉันได้มีโอกาสสัมภาษณ์คุณฉัตรชนก ดุลยรัตน์ ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยศิลปากรผู้ที่รับผิดชอบในการปรับปรุงและดูแลรักษาบ้านอาจารย์ศิลป์ พีระศรี
จากนี้ไปเป็นบทสัมภาษณ์
จานีน: อยากให้เล่าเรื่องบ้านอาจารย์ฝรั่งโดยสังเขป
ฉัตรชนก: บ้านอาจารย์ฝรั่ง ศิลป์ พีระศรี เป็น หนึ่งในเรือนบริวารของบ้านพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ ซึ่งท่านเป็นผู้รับสนองเบื้องพระยุคลบาทล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 7 ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงพระราชทานที่ดินให้ บ้านหลังนี้มีอายุกว่า 100 ปี ใน พ.ศ. 2466 (ในสมัยรัชกาลที่ 6) อาจารย์ศิลป์ พีระศรีชื่อเดิม คือศาสตราจารย์คอราโด้ เฟโรซี่ ได้ถูกเรียนเชิญจากพระบาทสมเด็จ
พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุเพียง 29 ปีและอาศัยอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เข้ามารับราชการโดยเป็นอาจารย์สอนปั้นหล่อให้กับข้าราชการไทยสมัยนั้น คำว่าอาจารย์ฝรั่งจึงได้ถูกเรียกชื่อแทนชื่อภาษาอิตาเลี่ยนของท่านแต่นั้นมา เพราะในสมัยนั้นคนไทยยังออกเสียงภาษาต่างประเทศยังไม่ได้ รัฐบาลไทยจึงได้เช่าบ้านหลังนี้ให้อาจารย์ได้พำนักพร้อมครอบครัว ซึ่งอาจารย์ได้อาศัยอยู่ที่นี่เป็นเวลา 8 ปี และนี่คือประวัติศาสตร์ที่เราควรทราบในฐานะที่อาจารย์ศิลป์ เป็นบุคคลสำคัญของประเทศด้วยที่ท่านทำคุณประโยชน์ในเชิงศิลปะให้ประเทศไทยไว้อย่างมากมาย ท่านเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากรและเป็นบิดาของศิลปะร่วมXสมัย ผลงานของอาจารย์มีมากมายทั้งงานหลักสูตรของวิชาศิลปะทุกแขนง งานเขียน งานวิจัย และงานปั้นอนุเสาวรีย์อีกมากมาย
จานีน: อะไรคือเหตุผลของการเปิดบ้านอาจารย์ฝรั่งให้คนได้เข้าชม
ฉัตรชนก: เมื่อปีพ.ศ.2560 สำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก ได้เป็นผู้ค้นพบบ้านอาจารย์ฝรั่งร่วมกับนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยศิลปากร โดยภาพนึงที่ถูกส่งมาจากครอบครัวอาจารย์ศิลป์ที่อิตาลีเพื่อแจ้งข่าวการเสียชีวิตของ อิซาเบลล่า ลูกสาวของอาจารย์ และภาพนั้นได้ถูกถ่ายที่บ้านหลังนี้ จึงเป็นที่มาของการเปิดบ้านอาจารย์ฝรั่งนับแต่นั้นมา แต่ด้วยการดูแลบ้านเป็นทหารในสำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก จึงทำให้บ้านที่ขณะนั้นเปรียบเสมือนเป็นพิพิธภัณฑ์อาจารย์ศิลป์ พีระศรี และผู้คนเริ่มเบาบางลง เพราะเปิดแค่วันพุธวันเดียว จึงได้ปิดตัวลง
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 สำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก จึงได้เฟ้นหาผู้ที่จะมาดูแลบ้านอาจารย์ฝรั่ง และในที่สุด ดิฉันได้เป็นผู้รับเลือกซึ่งถือว่าเป็นเกียรติสูงสุดในชีวิต ดิฉัน ฉัตรชนก ดุลยรัตน์ ซึ่งจบจากคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงได้ชักชวนเพื่อนอีก 2 คน คือ คุณศุภกิจ สุทธิพิทักษ์ที่จบจากคณะมัณฑนศิลป์ และ คุณบุญชัย พิพัฒน์ชูเกียรติ จบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาร่วมกันปรับปรุงดูแลให้บ้านหลังนี้มีกลิ่นไอของงานศิลปะ เพื่อที่จะให้ประชาชนที่มาชมบ้านได้รำลึกถึงและให้ทุกคนได้ระลึกรู้ถึงประวัติและผลงานอันทรงคุณค่าของอาจารย์ศิลป์พีระศรี ด้วยอาคารอนุรักษ์หลังนี้ที่มีประวัติศาสตร์อันน่าจดจำแล้ว ดิฉันต้องการให้คนมาเสพงานศิลปะ แล้วควรจะได้สัมผัสรส และกลิ่น ดิฉันจึงได้ชักชวนร้านCraftsman ร้านกาแฟที่มีเอกลักษณ์เฉพาะคือร้านกาแฟในบ้านเก่า มาอยู่ที่นี่ด้วย เพื่อให้คนที่มาที่นี่ได้มาเป็นที่พักผ่อน อ่านหนังสือ ดื่มกาแฟ ทานอาหาร
ก่อนหรือหลังชมงานศิลปะ