Friday, September 29, 2017

Wieng Kum Kam , The Lost City : Lanna Chiang Mai








                                                                                                             







                                                                                                     Janine Yasovant  : writer
Meaning of Wiang Kum Kam


The oldest evidence regarding Wiang Kum Kam is a stone inscription located at Wat Phra Yuen Temple. The inscription was written in Thai-Sukhothai alphabets. On the first side at line 31, the word Koom Kam was written. The present spelling is “Kum Kam”.       
The word “Kam” refers to the country. In the first study it was still unknown. The assumption was from the ending of other cities’ names like Wieng Pu Kam. In Burmese language, “Kam” means home.  
“Kum” means to maintain in Thai-Yuan language which also has the same meaning as Thai standard language “Khum”. Hence, Wiang Kum Kam means to maintain the country.

Founding of Wiang Kum Kam

Wiang Kum Kam was founded because Phaya Meng Rai wanted to build a new capital to replace the Haripunchai city because he was dissatisfied with the city’s current location. It might be from weaknesses of the city which was built for over 500 years. The city was too small, narrow and could not be extended.
The old capital Haripunchai would be used as a center of Buddhism, while the new capital would be used as commercial and political center.
Phaya  Meng Rai chose to build the new capital in Chiang Mai - Lamphun plain without returning to Kok River plain which was located in the north. Wiang Kum Kam is a vast plain which is the biggest in the north. Rice could be grown here rice widely and at that time it was easy to contact the southern cities.

Reasons for relocating the capital city from Wiang Kum Kam to Chiang Mai.

For many reasons, Chiang Mai is geographically more suitable than Wiang Kum Kam. the city is in square shape and situated between the foothill of Doi Suthep and Ping River, inclining from the west to the east.  The strategically preferred position of Chiang Mai city is rather similar to the old tradition of Thai-Yuan people who preferred mountain in the west of the city. The city’s front turn to water. Water from the mountain can supply Chiang Mai city all the time. Considering the physical characteristics between Wiang Kum Kam and Chiang Mai City, it is found that Wiang Kum Kum is clearly inferior to Chiang Mai. That is, Wiang Kum Kam was located in the lowland. In a few years after the construction of Wiang Kum Kam, flaws could be seen in Wiang Kum Kam. Also, location of Chiang Mai was more appropriate. Therefore, the new capital was moved again to Chiang Mai. Actually, the reason was not because of the flooding at that time. Geological evidence indicated that Wiang Kum Kam was flooded only once. The city was collapsed during the rule of Burma.    

In 1829, Phaya Meng Rai, who ruled a city in Northern Thailand near the Mekong River, expanded his territory to Chiang Mai and Lampoon. He founded a new city to be a trade center using the Ping River as a transportation route. And then it disappeared. It literally sunk out of sight until it was rediscovered in 1997 amidst some controversy but with excitement and wonder.

When officials excavated and surveyed the area, they found that the forgotten city occupied 650 Rai of land, with at least 25 temples, an elaborate water system, layers of agricultural irrigation, and wide-spread artifacts. They also found ship and boat wreckage including "Scorpion's tail boats," which were quite unique

In 2002, officials announced that the legendary, lost city Wieng Kumkam was indeed an ancient city.

Chiang Mai province is the second largest province of Thailand with many exceptional environmental and cultural tourist attractions. Chiang Mai is the only one province where five districts in the North are located near the border of Burma. The highest mountain is Doi Inthanon which is at Chom Thong district in the South of Chiang Mai city and 2,565.33 meters high .The second highest mountain is at Doi Phahompok national park in Fang district and  is 2,285 meters high, and the third largest mountain is Doi Luang Chiang Dao in Chiang Dao district and is 2,170 meters high. These mountains are part of the Phee Pan Nam mountain range. Because the weather is pleasant, though a bit cold in winter, many people come to visit these mountains each year.


The mountains are the water source of the Ping River, which flows down to the central plain and then unites with the Wang, Yom and Nan Rivers in Nakornsawan province to become the famous Chao Phraya River before flowing southwards to the Thai Gulf at Samut Prakarn province.


The Ping River is quite beautiful and the subject of many paintings and photographs. Its charm also appears in poems and folk songs that emphasize traditional culture and display the beauty and charm of Chiang Mai.


The history of the Ping River is involved with the Northern people and the renowned historical tale of the former sunken city. Before 1997, the mystery comprised only two remaining pagodas, a large Buddha statue and a folk-tale about the river and this unknown place.


Eventually, when people moved into the area and discovered more artifacts, officials investigated and found that the land was covered by mud and sand as if deposited by a flood. And historically, there was an overwhelming flood in the area. As they probed further, they uncovered more evidence. The historical facts and aerial photographs proved that the city plan of Chiang Mai is marvelously surrounded by an old, unmapped, manmade circular-shaped canal. The proof of the construction of Chiang Mai city after Lanna people moved from Wieng Kumkam was engraved in the stone inscription in the year 1296 at Wat Chiang Mun. We might say that Wieng Kumkam is an underground empire.

At the time that Wieng Kumkam thrived, the agriculture was good and the military was strong. Chinese artisans came to produce porcelain using the abundant and valuable varieties of clay near a series of what are now famous kilns. Each of the kilns produced quite different ceramic porcelain. Porcelain from Sankamphaeng was painted in a two-fish pattern, while porcelain from Wieng Kalong was painted in a bird pattern. Phayao kiln used white clay to create statues of small soldiers on war elephants. The porcelain from Sukhothai kiln had a predominant green color. Nan kiln produced porcelain with dark colors and the pattern of owls. The kilns in each place were called 'Chinese dragon-kilns' because they were very large and the production capacity of porcelain in each kiln was more than 1,000 Bowls or plates at a time.


                                                                       




PhayaMeng Rai was the ruler of Nak Yonoknakorn.  According to Buddhist tradition, Nak (Thai serpent) was built as railings of stairs to the temple. Phaya Meng Rai was a friend of the Phaya Ngam Muang who governed the Phayao Empire and Pho khun Ramkamhaeng who was the ruler of Sukhothai Empire.

                                                                  







They were the three kings who founded Wieng Kumkam as both a trading and religious center. People at that time lived near the temples because it was easier for them to support the monks with food and money.  

During the construction of Wieng Kumkam, Phaya Meng Rai governed the Hariphunchai Empire before moving to Chiang Mai and built many temples such as Wat Chet yod, Wat U Mong, Wat Pra Singh, Wat Chedi Luang and Wat Chiang Man. The extant Lanna art style blended with Burmese and Chinese arts. When Burma conquered the North, nobody talked about Wieng Kumkam. Then the flood and the city was eventually forgotten.

Today, the Ping River, in all of its undulating, romantic beauty is a welcoming route to the no-longer forgotten, lost city of Wieng Kumkam





                                                       Nawarat Bridge 


                           Old Steel Bridge near Nawarat Bridge at Chiangmai, Thailand.

                                                                   
                                                                   


                                                                Scorpion Tailed boat




http://www.scene4.com/archivesqv6/nov-2010/1110/janineyasovant1110.html


                                                              


                                                       จานีน ยโสวันต์





ความหมายของชื่อเวียงกุมกาม

 หลักฐานเก่าที่สุดที่กล่างถึงเวียงกุมกามคือ ศิลาจารึก วัดรพระยืน จังหวัดพระยืน เขียนเป็น อักษรไทย สุโขทัย คำว่า กุมกามอยู่ในด้านที่ 1 บันทัดที่ 31 เขียนว่ากูมกาม คำอ่านปัจจุบันคือ กุมกาม
กาม หมายถึง บ้านเมือง แต่ในการศึกษาครั้งแรกก็มิได้รู้ว่าเป็นอะไร แต่สันนิฐานจากเวียงอื่น ที่ลงท้ายด้วยคำว่ากาม คือ เวียงพุกาม ซึ่งในภาษา พม่า กามแปลว่า บ้านนั่นเอง
กุม หมายถึง รักษา เนื่องจากเป็นภาษาไทยยวนมีความหมายคล้ายกับคำว่า "คุม" ในภาษาไทย กลาง ซึ่งหมายความว่า ป้องกันรักษา คอยกำกับดูแล
เพราะฉะนั้น เวียงกุมกาม หมายถึง รักษาบ้านเมือง
มูลเหตุกำเนิดเวียงกุมกาม
 เวียงกุมกามกำเนินขึ้นเพราะพญามังรายทรงประสงค์จะสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ แทนที่เมือง หริภุญไชย ด้วยความไม่พอใจในเมืองหริภุญไชย คงเป็นเพราะข้อบกพร่องของตัวเวียง ที่สร้างมาประมาณ 500 ปี มีขนาดเล็ก คับแคบไม่สามารถขยายเวียงได้ จึงหาสถานที่สร้างเมืองหลวง ขึ้นใหม่ โดยให้ เมืองหริภุญไชย มีฐานะเป็นเมืองศูนย์กลางพุทธศาสนา ขณะที่เมืองหลวงแห่งใหม่จะเป็น ศูนย์กลางการค้า และการเมือง พญามังราย จะเลือกสร้างในเขตแอ่งที่ราบ เชียงใหม่ - ลำพูน โดยไม่กลับไป สร้างเมือง หลวงในเขต ที่ราบลุ่ม แม่น้ำกก ซึ่งอยู่ทางตอนบน ทั้งนี้ในที่เวียงกุมกาม เป็นที่ราบติดต่อกันไปเป็นผืนใหญ่ ที่สุดในภาคเหนือ จะสามารถปลูกข้าวได้อย่างกว้างขวาง และยังสามารถทำการค้นกับเมืองทางตอนใต้ได้อย่างสะดวก
สาเหตุการย้ายเมืองหลวงจากเวียงกุมกามมาเชียงใหม่

 เชียงใหม่มีลักษณะภูมิศาสตร์ที่เหมาะกว่าเวียงกุมกามกล่าวคือตัวเวียงเป็นรูปสี่เหลี่ยมตั้งอยู่ ระหว่าง เชิงดอยสุเทพ และแม่น้ำปิง ที่ตั้งลาดเทจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ลักษณะชัยภูมิ ของการตั้งเวียง เชียงใหม่ ตรงกับจารีตเดิม ของชาวไทยยวนที่ชอบตั้งคือให้ภูเขาอยู่ทาง ทิศตะวันตกของเวียง(หันหลังให้เขา) หนหน้าเขาน้ำ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ สายน้ำจากดอยสุเทพ ไหลลงมาหล่อเลี้ยงตัวเมืองเชียงใหม่ตลอดเวลาและในปัจจุบันหากเปรียบเทียบ ลักษณะ ทางกายภาพ ระหว่างเวียงกุมกามและเมืองเชียงใหม่จะพบว่าเวียงกุมกามมีข้อด้อยกว่าเชียงใหม่อย่างชัดเจน กล่าวคือ เวียงกุมกาม ตั้งอยู่ในบริเวณลุ่มต่ำ เป็นไปได้ว่าหลังจากสร้างเวียง กุมกาม แล้วประมาณ 2 - 3 ปีก็เริ่มเห็นข้อบกพร่องในจุดนี้ของ เวียงกุมกาม ครั้นพบที่ตั้งของเชียงใหม่ซึ่งเหมาะสมกว่า จึงย้ายมาสร้างในที่แห่งใหม่และการย้ายมาสร้างเชียงใหม่ มิใช่ เพราะเวียงกุมกามถูกน้ำท่วมใหญ่ แล้วจึงย้ายมาสร้างเวียงเชียงใหม่ ทั้งนี้ในหลักฐานทางธรณีวิทยา บ่งชัดว่า เวียงกุมกาม ถูกน้ำท่วม เพียงครั้งเดียว เมืองก็ล่มสลายลง ในสมัยพม่าปกครอง




                เจดีย์ เหลี่ยม  เวียงกุมกาม


Anurote Chanphosri & Tippanet Yaemaneechai




Lanna Thai Map.


ในปีพ.ศ. 2372 พระยามังรายผู้ซึ่งปกครองเมืองในภาคเหนือของประเทศไทยอยู่ใกล้กับแม่น้ำโขงได้ขยายพื้นที่ของเข้ามายังเมืองเชียงใหม่และเมืองลำพูน ได้จัดตั้งให้เมืองใหม่เป็นศูนย์กลางการค้าขายโดยใช้แม่น้ำปิงเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าและหลังจากนั้นมาเมืองก็หายสาบสูญไป อันที่จริงคือการจมไปจากสายตาจนกระทั่งได้มีการค้นพบอีกครั้งหนึ่งในปีพ.ศ.2540 ท่ามกลางการโต้แย้งแต่ก็มีความตื่นเต้นและความน่าอัศจรรย์เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ทำการขุดค้นและสำรวจพื้นที่ก็พบว่าเมืองที่ถูกลืมมีเนื้อที่




















650 ไร่ มีวัดอย่างน้อย 25 แห่ง ระบบน้ำที่ละเอียดซับซ้อน ชลประทานเพื่อการเกษตรแบบเป็นชั้นๆ วัตถุมีค่าอยู่กระจัดกระจาย และยังได้พบซากเรือรวมทั้ง "เรือหางแมงป่อง"มีลักษณะค่อนข้างแปลก ในปีพ.ศ. 2545เจ้าหน้าที่ได้ประกาศว่าเวียงกุมกามซึ่งเป็นเมืองในตำนานที่สูญหายนั้นเป็นเมืองโบราณจริงๆ


เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศไทยที่มีสถานที่ ท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่โดดเด่นอยู่มากมาย เชียงใหม่เป็นจังหวัดเดียวที่ห้าอำเภออยู่ใกล้กับชายแดนพม่า ภูเขาที่สูงที่สุดคือดอยอินทนนท์ที่อยู่อำเภอจอมทองทางใต้ของตัวเมืองเชียงใหม่และมีความสูง,565.33 เมตร ภูเขาสูงเป็นอันดับสองคืออุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปกในอำเภอฝางที่มีความสูง 2,285 เมตรและภูเขาที่สูงเป็นอันดับสามคือดอยหลวงเชียงดาวในอำเภอเชียงดาวและมีความสูง 2,170 เมตร ภูเขาเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาผีปันน้ำ เพราะว่าอากาศดีแม้ว่าจะเย็นเล็กน้อยในฤดูหนาวหลายๆคนได้มาท่องเที่ยวภูเขาทั้งสามแห่งนี้ในแต่ละปีภูเขาเหล่านี้เป็นต้นน้ำของแม่น้ำปิงซึ่งไหลลงมาทางที่ราบภาคกลางไปรวม
แม่น้ำ วัง ยม และน่านที่จังหวัดนครสวรรค์กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนที่จะไหลลงทางใต้ไปยังอ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรปราการ

แม่น้ำปิงนั้นสวยงามและอยู่ในภาพเขียนและภาพถ่ายมากมายความน่าดึงดูดใจนั้นปรากฏบทกวีและเพลงพื้นบ้านที่เน้นถึงวัฒนธรรมพื้นบ้านและแสดงความงดงามและเสน่ห์ของเชียงใหม่ ประวัติแม่น้ำปิงของประเทศไทยนั้นเกี่ยวข้องกับผู้คนทางเหนือและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของอดีตเมืองที่จมอยู่ใต้น้ำ ก่อนที่จะถึงปี

                                                                      


พ.ศ. 2540 เรื่องราวอันลึกลับประกอบด้วยเจดีย์ทั้งสองแห่งที่เหลืออยู่พระพุทธรูปองค์ใหญ่ และเรื่องพื้นบ้านเกี่ยวกับแม่น้ำและสถานที่ไม่มีใครรู้จักแห่งนี้ ในที่สุดเมื่อมีผู้คนย้ายมาในพื้นที่นี้และได้ค้นพบสิ่งของโบราณมากมาย เจ้าหน้าที่ได้ตรวจตราและพบว่าพื้นที่นั้นครอบคลุมไปด้วยดินโคลนและทรายซึ่งสะสมมาจากน้ำท่วมและตามประวัติศาสตร์แล้วก็มีน้ำท่วมใหญ่ที่ไม่อาจต้านทานได้ในบริเวณนั้น เมื่อได้มีการสำรวจต่อไปก็ได้รับหลักฐานมากขึ้น ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์และภาพถ่ายทางอากาศได้พิสูจน์ว่าแผนเมืองเชียงใหม่ล้อมรอบไปด้วยลำคลองรูปทรงกลมที่สร้างโดยมนุษย์และไม่ปรากฏในแผนที่ หลักฐานของการก่อสร้างเมืองเชียงใหม่ภายหลังจากชาวล้านนาอพยพออกจากเวียงกุมกามนั้นเขียนไว้ที่หลักศิลาจารึกที่วัดเชียงมั่นเมื่อปีพ.ศ. 1839 ดังนั้นจึงสามารถที่จะกล่าวได้ว่าเวียงกุมกามเป็นอาณาจักรที่อยู่ใต้พิภพ



                                                                  


ในตอนที่เวียงกุมกามยังเจริญรุ่งเรือง การเกษตรสมบูรณ์ดีและการทหารนั้น แข็งแกร่ง ช่างฝีมือชาวจีนเข้ามาสร้างเครื่องปั้นดินเผาโดยใช้ดินเหนียวที่มีมากมายและมีคุณลักษณะที่มีค่าที่อยู่ใกล้แหล่งเตาเผาที่มีชื่อเสียง แต่ละเตาได้สร้างเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะค่อนข้างต่างกัน เครื่องปั้นดินเผา ของสันกำแพงจะทาสีเป็นลายปลาคู่ เครื่องปั้นดินเผาจากเวียงกาหลงก็จะทาสีเป็นรูปนก เตาเผาที่จังหวัดพะเยาใช้ดินสร้างรูปปั้นทหารบนช้างศึกเครื่องปั้นดินเผาจากเตาสุโขทัยจะเน้นสีเขียวเป็นหลัก เตาเครื่องปั้นดินเผาที่น่านจะใช้สีเข้มมีลวดลายนกฮูก เตาเผาในแต่ละแห่งถูกเรียกว่าเตามังกรเพราะมีขนาดใหญ่มากและมีกำลังการผลิตถ้วยและจานดินเผาได้มากกว่า1,000 ใบต่อครั้ง



                                                                     








พระยามังรายเป็นผู้ปกครองเมืองนากโยนกนคร ตามธรรมเนียมชาวพุทธ นากถูกจัดสร้างเป็นราวบันไดทางเข้าวัด พระยามังรายเป็นสหายกับพระยางำเมืองผู้ครองเมืองพะเยาและพ่อขุนรามคำแหงที่ปกครองอาณาจักรสุโขทัย ทั้งกษัตริย์ทั้งสามพระองค์ทรงเป็นผู้ก่อตั้งเมืองเวียงกุมกามที่เป็นทั้งศูนย์กลางการค้าขายและศาสนา ผู้คนในเวลานั้นอาศัยอยู่ใกล้วัดเพราะว่าง่ายต่อการดูแลพระสงฆ์ด้วยอาหารและเงินทองในช่วงการก่อสร้างเวียงกุมกาม พระยามังรายปกครองเมืองหริภุญไชยก่อนที่จะย้ายมาเชียงใหม่และสร้างวัดหลายแห่งเช่นวัดเจ็ดยอด วัดอุโมงค์วัดพระสิงห์ วัดเจดีย์หลวง และวัดเชียงมั่น ศิลปะรูปแบบล้านนาผสมผสานกับศิลปะพม่าและจีน เมื่อพม่ายึดครองภาคเหนือ ไม่มีผู้ใดกล่าวถึงเวียงกุมกาม เกิดน้ำท่วมขึ้นและเมืองก็ถูกลืมเลือนในที่สุด ทุกวันนี้แม่น้ำปิงที่ซัดสาดขึ้นลงเกิดความงามที่เป็นเส้นทางต้อนรับเวียงกุมกามที่ไม่ได้เป็นนครที่ถูกลืมเลือนอีกต่อไป









Wednesday, September 27, 2017

The First King Of Lanna Thai



                                 









                                                       
                                         Tilokaraj (Thai: พระเจ้าติโลกราช), was the twelfth monarch of the Mangrai Dynasty.








King Tilokaraj

The First King Of Lanna Thai




He became king in 1443 by deposing his father, and within a year had imposed control over Nan and Phrae. He also attacked Luang Prabang, Chiang Rung, and the Shan region several times but could not impose control. He faced several revolts. He had his favorite son, Bunruang, executed on suspicion of disloyalty. While clearly a warlike ruler, he was also a vigorous patron of Sri Lankan-style Buddhism, building several monasteries including Wat Chet Yot and Wat Pa Daeng, and enlarging Wat Chedi Luang to house the Emerald Buddha.








Map of Lan Na under King Tilokkarat





ฆS




พระเจ้าติโลกราชทรงสร้างความมั่นคงภายในอาณาจักรล้านนาในช่วง 45 ปี (พ.ศ. 1985-2030) อาณาจักรล้านนาจึงมีความเข้มแข็ง สามารถยึดได้เมืองน่าน เมืองแพร่ จากนั้นจึงขยายอำนาจลงสู่ทางใต้ ทรงทำสงครามกับอยุธยาในสมัยพระเจ้าสามพระยาและสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถติดต่อกัน ในช่วงเวลา 24 ปี เริ่ม พ.ศ. 1994 พระยายุทธิษเฐียรเจ้าเมืองพิษณุโลกเข้าสวามิภักดิ์ ต่อพระเจ้าติโลกราชและร่วมกันตีได้เมืองปากยม (พิจิตรตอนใต้) จากนั้นใน พ.ศ. 2003 พระยาเชลียงก็เข้าสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าติโลกราช ในปีต่อมาพระยาเชลียงนำพระเจ้าติโลกราชมาตีเมืองพิษณุโลกและเมืองกำแพงเพชร แต่ไม่สำเร็จ






สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงแก้ไขการขยายอำนาจของพระเจ้าติโลกราช โดยเสด็จขึ้นมาครองเมืองพิษณุโลกใน พ.ศ. 2006 ในการทำสงครามกับล้านนา นอกจากใช้กำลังทหารโดยตรงแล้วทางอยุธยายังใช้พิธีสงฆ์และไสยศาสตร์ด้วย กล่าวคือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเมื่อทรงออกผนวชใน พ.ศ. 2008 ก็ได้ทรงขอเครื่องสมณบริขารจากพระเจ้าติโลกราช และระหว่างที่ผนวชก็ทรงขอบิณฑบาตเมืองเชลียงคืน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ส่วนการใช้ไสยศาสตร์ก็ได้ส่งพระเถระชาวพม่ามาทำลายต้นนิโครธ (ต้นไทร) ซึ่งเป็นไม้ศรีเมืองณ แจ่งศรีภูมิ ด้วยความเชื่อทางไสยศาสตร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2017 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงยึดเมืองเชลียงกลับคืนได้ และ พ.ศ. 2018 อยุธยาและล้านนาก็ทำไมตรีต่อกัน






The Maha chedi of Wat Jed yod
Stucco figures on the outside of the Maha Chedi


King Tilokarat commissioned the construction of the temple in 1455 CE after he had sent monks to Bagan in Burma to study the design of the Mahabodhi temple there, itself a copy of the Mahabodhi Temple of Bodh Gaya in northern India, the location where Siddhartha Gautama, the Buddha, attained enlightenment.
According to the Jinakālamālī chronicle, in 1455 CE the king planted a bodhi tree on the spot and in 1476 CE "had established a large sanctuary in this monastery", probably for the celebration ceremony commemorating 2000 years of Buddhism. The following year the 8th Buddhist World Council was held at Wat Chet Yot to renew the Tripitaka (the Pali Canon).

Temple structures

Stucco figures on the outside of the Maha Chedi
The design of the central sanctuary, the Maha Pho wihan (also called Maha Chedi, Thai: มหาเจดีย์), does indeed somewhat resemble the Mahabodhi temple, clearly having Indian influences. Crowning the flat roof of the rectangular windowless building are seven spires (In Thai: chet yot) which gives the temple its name: a pyramid-like spire with a square base set back from the centre surrounded by four smaller similar spires, and, set atop the two smaller annexes of the main building, two bell-shaped chedis.

The interior of the building contains a barrel vaulted corridor which leads to a Buddha statue at its end. Right and left of the Buddha statue narrow stairs lead up to the roof. In days past a bodhi tree grew on top of the roof but which was removed in 1910 CE to prevent the structure from collapse. Women should not climb up to the roof as only men are allowed to enter this part of the temple.

The exterior façades of the building feature 70, partially strongly weathered, stucco reliefs of Thewada (Devas), divine beings, the faces of whom have allegedly been modelled after relatives of King Tilokarat.

Other buildings
The extensive temple grounds contain several more chedis (and remains of chedis) in Lanna-style (also called: Prasat-style): all are bell-shaped chedis set on bases, with alcoves on four sides containing Buddha statues. The largest of the chedis contains the ashes of King Tilokarat.

In the northeast corner of the temple compound is a small ubosot featuring an exquisitely carved wooden gable surrounded by double Bai Sema, boundary stones which designate the sacred area of a temple.

A pond and a square mondop are at the southern end of the temple grounds. The mondop features a statue of the Buddha being sheltered by the nāga Mucalinda.

Several Buddha statues showing different mudra (symbolic hand gestures) are found along the western part of the compound with the explanations of the gestures provided in English on information plaques.










อำนาจของพระเจ้าติโลกราช ได้ขยายไปด้านตะวันออกไปถึงล้านช้าง โดยปกป้องหลวงพระบางให้รอดพ้นจากการคุกคามของไดเวียด ซึ่งทำสงครามขยายอิทธิพลรุกรานหลวงพระบางในปี พ.ศ. 2023 ซึ่งก่อนหน้านั้นหลวงพระบางถูกกองทัพไดเวียดโจมตี พระมหากษัตริย์ลาวสิ้นพระชนม์พร้อมกับโอรสอีกสององค์ โอรสองค์สุดท้ายคือเจ้าซายขาวได้รับความช่วยเหลือจากพระเจ้าติโลกราช กองทัพล้านนาไปรบตอบโต้จนฝ่ายไดเวียดพ่ายกลับไป ชัยชนะครั้งนี้ทำให้พญาซายขาว พระมหากษัตริย์ลาวพระองค์ใหม่ มาสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าติโลกราช พระราชอำนาจของพระเจ้าติโลกราชจึงแผ่ไปกว้างขวาง ด้านตะวันตกขยายออกไปถึงรัฐฉาน ได้เมืองไลคา เมืองนาย เมืองสีป้อ เมืองยองห้วย เป็นต้น พระเจ้าติโลกราชได้กวาดต้อนครัวเงี้ยวเข้ามาใว้ในล้านนาถึงหมื่นคนเศษ ด้านเหนือตีได้เมืองเชียงรุ่ง เมืองยอง และได้กวาดชาวลื้อ บ้านปุ๋ง เมืองยองมาไว้ที่ลำพูน

พระเจ้าติโลกราช เป็นพระมหากษัตริย์นักรบที่ทรงพระปรีชาสามารถได้แผ่ขยายอำนาจของกรุงราชธานีเชียงใหม่ไปทั่ว 57 หัวเมืองขึ้น ครอบคลุมทิศเหนือจรดเมืองเชียงรุ่ง (จิ่งหง) มณฑลยูนนาน ประเทศจีน เมืองเชียงตุง เมืองยอง (รัฐฉาน ประเทศพม่า) เมืองนาย เมืองไลค่า เมืองเชียงทอง เมืองปั่น เมืองยองห้วย เมืองสุ เมืองจีด เมืองกิง เมืองลอกจอก เมืองสีป้อ เมืองจาง รวมกว่า 11 เมืองทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน (รัฐฉาน พม่า) ทิศตะวันออกตีได้อาณาจักรล้านช้าง (ประเทศลาว) ทิศใต้จรดขอบแดนอยุธยา แนว ตาก เถิน ศรีสัชนาลัย (สุโขทัย) ลับแล แพร่ น่าน อาณาจักรล้านนาในรัชกาลของพระองค์เป็นยุคทอง รุ่งเรืองสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้รับการรับรองจากคนกลาง "โอรสแห่งสวรรค์"จักรพรรดิ์จีนแห่งราชวงศ์หมิง ซึ่งบันทึกไว้ใน"หมิงสื่อลู่"เป็นเอกสารโบราณประจำรัชกาลที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุดแห่งราชสำนักจักรพรรดิจีน และ ดร.วินัย พงศรีเพียร นักประวัติศาสตร์ผู้เรืองนาม ได้แปลไว้ในเอกสารชื่อ "ปาไป่สีฟู่ ปาไป่ต้าเตี้ยน" (คณะกรรมการสืบค้นประวัติศาสตร์ไทยในเอกสารภาษาจีน สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จัดพิมพ์ในโอกาสเชียงใหม่มีอายุครบ 700 ปี ใน พ.ศ. 2539) บันทึกว่า จักรพรรดิ์จีนยกย่องให้พระเจ้าติโลกราชเป็น "ตาวหล่านนา"หรือท้าวล้านนาและพระราชทานเครื่องประกอบเกียรติยศมากมายนอกจากนี้ยังสถาปนาพระเกียรติยศเป็นลำดับ"สอง" รองจากองค์จักรพรรดิ์จีน ซึ่งตรงกับเอกสารของพม่าที่บันทึกสมัยอยุธยาก่อนกรุงแตกครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2305 ชื่อว่า "Zinme Yazawin (Chronicle of Chiang Mai หรือตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับพม่า) ดังความว่า ที่ใดก็ตามที่ปรากฏศัตรูขึ้นในแปดทิศของจักรพรรดิ์อุทิปวาผู้ปกครองทุกสิ่งภายใต้สวรรค์ ให้ท้าวล้านนาเจ้าฟ้าแห่งเมืองเชียงใหม่มีอำนาจที่จะปราบปรามและลงโทษศัตรูนั้นได้... (Wherever enemies appeae in the eight directions of the Empire of the Utipwa,who Rules All under Heaven ,Thao Lan Na , Chaofa of Chiang Mai with his forecs shall subdue and punish them.) และทรงให้ราชสมญานามพระเจ้าติโลกราชว่า "ราชาผู้พิชิต", "ราชาแห่งทิศตะวันตก" (Victorious Monarch, King of the West) โดยให้เสนาบดีผู้ใหญ่ควบคุมเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตราพระราชลัญจกร พระสุพรรณบัตร เครื่องประกอบเกียรติยศมากมาย ทองคำแท่ง 100 ตำลึง เดินทางมาถึงเชียงใหม่ ทำพิธีอย่างยิ่งใหญ่ อลังการ นอกนั้นพระราชกรณียกิจที่สำคัญพระองค์ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก จึงทำให้รัชกาลของพระองค์พระพุทธศาสนารุ่งเรืองสูงสุด พระสงฆ์แตกฉานภาษาบาลี มีการตรวจชำระพระไตรปิฎก หรือสังคายนา เป็นครั้งที่ 8 ของโลก ณวัดเจ็ดยอด อ.เมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2020 ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลบวชกุลบุตรเป็นพระภิกษุจำนวน 500 รูปในอุทกสีมาหรืออุปสมบทกลางแม่นำปิงตามอย่างลัทธิลังกาวงค์ [[ในปี พ.ศ. 1990 เมื่อพระราชบิดา พระเจ้าสามฝั่งแกนสวรรคต จึงจัดการพระราชทานเพลิงพระศพแล้วสถาปนาพระสถูปบรรจุพระอัฐิไว้ ณ ป่าแดงหลวง ( อยู่เชิงดอยสุเทพ ในบริเวณ ม.เชียงใหม่) โดยบุทองแดงแล้วปิดทองทั้งองค์ เมื่อเสร็จงานในปีเดียวกันก็ออกผนวชโดยให้พระมารดาว่าราขการแทนพระองค์ ทั้งนี้เพื่อศึกษาปฏิบัติพระธรรมวินัย ต่อมาเมื่อพระมารดาสิ้นพระชนม์ก็ถวายพระเพลิง ณ สถานที่เดียวกันกับพระบิดา แล้วสถาปนาที่นั้นเป็นพระอารามในปี พ.ศ. 1994 โดยทรงขนานนามว่าวัดอโสการามวิหาร ลุถึงปี พ.ศ. 1998 โปรดให้สร้างวัดโพธารามวิหาร หรือวัดเจดีย์เจย์เจ็ดยอด







ตลอด 46 ปีของรัชกาลพระเจ้าติโลกราช มีการทำสงครามขยายพระเดชานุภาพนับได้ หลายครั้ง ดังนี้

ปราบหัวเมืองฝางที่แข็งเมืองเจ้าเมืองหนีไปพึ่งบารมีเจ้าเมืองเทิง (อ.เทิง จ.เชียงราย) แต่ถูกประหารชีวิตต่อหน้าเจ้าเมืองเทิง เป็นการกระทำที่ไม่ไว้หน้าเจ้าเมืองเทิง จึงส่งสารลับแจ้งให้อยุธยายกทัพมาตีเชียงใหม่ นับว่าเป็นปฐมเหตุแห่งศึกสิงห์เหนือ เสือใต้ (เชียงใหม่ -อยุธยา) ยืดเยื้อยาวนาน ถึง 18 ปีจนสิ้นรัชกาลทั้งพระเจ้าติโลกราชกับพระเจ้าสามพระยาและพระเจ้าบรมไตรโลกนาถ
อยุธยามาตีเมืองเชียงใหม่ ตามที่เจ้าเมืองเทิงแปรพักตร์แจ้งให้ยกทัพมาชิงเมือง ผล อยุธยาถูกกลศึกตอบโต้โดนโจมตีแตกพ่าย ส่วนเจ้าเมืองเทิงถูกประหารชีวิต ตัดคอใส่แพหยวกกล้วยล่องนำปิง โดยมีนัยว่าเพื่อให้ไปถึงพระเจ้าอยุธยา (พระบรมราชาที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา)
ปราบเมืองน่านที่แข็งเมือง พระญาเมืองน่านหนีไปพึ่งบารมีเจ้าเมืองเชลียงของอยุธยา
ขับไล่เมืองหลวงพระบางที่ยกทัพลอบโจมตีเมืองน่าน
ปราบเมืองยอง ไทลื้อ (รัฐฉาน พม่า)
ปราบเมืองหลวงพระบาง เมืองขรองหลวง เมืองขรองน้อย
ปราบเมืองเชียงรุ่ง หรือ เชอหลี่ใหญ่ หรือจิ่งหง- Jinghong (12 ปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน) เมืองลอง เมืองตุ่น เมืองแช่
ปราบเมืองเชียงรุ่งที่แข็งเมืองอีกครั้ง และเข้าตีเมืองอิง
ปราบเมืองนาย ไลค่า ล๊อกจ๊อก เชียงทอง เมืองปั่น หนองบอน ยองห้วย เมืองสู่ เมืองจีด เมืองจาง เมืองกิง จำคา เมืองพุย สีป้อ กวาดต้อนผู้คนจำนวน 12,328 คนมาใส่เมืองเชียงใหม่
ยกทัพไปตีเมืองไทใหญ่ ครั้นถึงเมืองหาง ทราบข่าวเวียดนามยกทัพ 400,000 นาย มาตีหลวงพระบาง และมาโจมตีเมืองน่านจึงยกทัพกลับมาช่วยเมืองน่าน เจ้าเมืองน่านต่อสู้อย่างทรหด รบชนะกองทัพมหาศาลของจักรพรรดิเลทันตองแห่งเวียดนาม ตัดศีรษะแม่ทัพ มาถวายเป็นจำนวนมาก พระเจ้าติโลกราชจึงมีพระบรมราชโองการให้อำมาตย์ผู้ใหญ่ควบคุมเชลยศึกเวียดนาม พร้อมศีรษะแม่ทัพ เดินทางไปยังกรุงปักกิ่ง เพื่อถวายแด่จอมจักรพรรดิ์ ในตอนแรกจอมจักรพรรดิจีนไม่เชื่อว่ากองทัพล้านนาจะต่อตีกองทัพจักรพรรดิ๋เลทันตองแห่งเวียดนามได้ เพราะกองทัพจีนเพิ่งรบแพ้แก่กองทัพเวียดนามมาหยกๆจอมจักรพรรดิ์จีนจึงมีพระบัญชาสั่งสอบสวนเชลยศึกเวียดนาม ทีเดียวพร้อมๆกันโดยแยกสอบสวนคนละห้อง เพื่อป้องกันมิให้เชลยศึกเวียดนาม บอกข้อมูลให้แก่กัน ผลการสอบสวน ตรงกันหมดว่ากองทัพที่ยิ่งใหญ่ของจักรพรรดิ์เลทันตองแห่งเวียดนาม พ่ายแพ้หมดรูปแก่กองทัพพระเจ้าติโลกราช ณ สมรภูมิที่ เมืองน่าน จักรพรรดิ์จีนถึงกับยกพระหัตถ์ทุบพระอุระ ตรัสด้วยพระสุรเสียงดังทั่วท้องพระโรงต่อหน้าเสนา อำมาตย์ ที่ชุมนุม ณ ที่นั้นว่า "เหวยๆ ข้าคิดว่าในใต้หล้ามีเพียงข้าผู้เดียวที่มีเดชานุภาพมาก แต่บัดเดี๋ยวนี้มี ท้าวล้านนาพระเจ้าติโลกราช มีเดชานุภาพทัดเทียมข้า ข้าจึงแต่งตั้งให้ท้าวล้านนาเป็น "ราชาผู้พิชิตแห่งทิศตะวันตก"ให้เป็นใหญ่รองจากข้า มีอำนาจที่จะปราบปรามกษัตริย์น้อยใหญ่ที่ก่อการแข็งเมืองต่อข้า นับแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไป" พร้อมกับทรงส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเครื่องประกอบเกียรติยศ กองทหารพร้อมเสนาบดีผู้ใหญ่ เดินทางมาประกอบพิธีที่เชียงใหม่อย่างยิ่งใหญ่ อลังการโดยทรงยกย่องให้เป็น "รอง" จักรพรรดิจีนแห่งราชวงศ์หมิง เป็น "ราชาผู้พิชิตแห่งทิศตะวันตก" (King of the West) ส่วนจักรพรรดิจีนเป็นจักรพรรดิแห่งทิศตะวันออกZinme Yazawin หรือ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับภาษาพม่า (พม่าเรียกเชียงใหม่ ว่า "Zinme ") นี้เป็นเอกสารสำคัญที่พม่าขณะเข้าปกครองเชียงใหม่ กว่า ๒๐๐ ปี ตั้งแต่บุเรงนอง ยาตราทัพเข้ายึดครองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ ๒๑๐๑ - ๒๓๑๗ และในรัชกาลต่อๆมาได้นำเอาเอกสารในราชสำนักราชวงค์มังรายไปคัดลอกเป็นภาษาพม่า และนำกลับพม่า ต่อมาด้วยความร่วมมือของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษ ในชื่อว่า Zinme yazawin เมื่อ คศ. ๒๐๐๔ เอกสารฉบับนี้ทราบกันในหมู่นักวิชาการแคบๆเพียงไม่กี่คน ทราบว่ามีอยู่เพียง ๒๐ เล่มในขณะนั้น ปัจจุบันยังไม่มีการแปลเป็นภาษาไทย เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านลิขสิทธิ์



ตีกำแพงเพชร (ชากังราว) แตก ส่งทัพหน้ามากวาดครัวถึงเมืองชัยนาท เข้าตีสุโขทัยมิได้ จึงถอยทัพกลับ
เจ้าเมืองเชลียงแห่งสุโขทัย มาสวามิภักดิ์
เจ้าเมืองพิษณุโลก หัวเมืองเหนือของอยุธยา มาสวามิภักดิ์ พร้อมนำไพร่พลเมือง ทหารกว่า 1 หมื่นคน มาอยู่ในเชียงใหม่แม่แบบ:Zinme Yazawin
ยกทัพไปล้อมเมืองพิษณุโลก พระบรมไตรโลกนาถ ใช้กลศึกหลบหนีออกจากเมืองพิษณุโลกเวลาเที่ยงคืนและเดือนมืดสนิท ทางลำน้ำน่านกลับอยุธยา พระเจ้าติโลกราชทรงพระพิโรธ รับสั่ง ให้"ควักลูกตา "ทหารทุกนายที่ซุ่มล้อม ณ พื้นที่ลำน้ำน่าน "หมื่นด้งนคร"แม่ทัพใหญ่รุดเข้าเฝ้า กราบบังคลทูลถวายรายงานว่า พระบรมไตรโลกนาถ ใช้ "กลศึก" ตีสัญญาณ ฆ้อง กลองล่องเรือหนีมาตามลำน้ำน่านโดยให้จังหวะเคาะสัญญาณ เลียนแบบสัญญาณ ของ "มหาราชเชียงใหม่" ทุกประการ ประกอบกับเดือนมืด มองเห็นไม่ถนัด ทหารที่ซุ่มเฝ้าระวัง จึงไม่เฉลียวใจ ต่างคิดว่า เป็นเรือพระที่นั่งของพระเจ้าติโลกราช เสด็จ จึงไม่ยับยั้ง และข้าในฐานะแม่ทัพ ขอรับโทษแทนทหารชั้นผู้น้อยทั้งหมด หากจะควักลูกตาทหารผู้น้อย ก็ขอให้ควักลูกตาของข้าแต่เพียงผู้เดียว พระเจ้าติโลกราช ได้ฟังทหารเอกผู้ภักดี ยอมสละแม้กระทั่งลูกนัยตาของตัวเองเพื่อแสดงความรับผิดชอบ ปกป้อง รับแทนทหารลูกน้อง อีกทั้ง ความจงรักภักดีของหมื่นด้งนคร ที่มีต่อ มหาราชเชียงใหม่ รุกรบไปทั่วดินแดนใกล้ ไกล เคียงบ่า เคียงไหล่ ร่วมเป็น ร่วมตาย มาด้วยกัน นับครั้งไม่ถ้วน ทรงตรึกตรอง แล้วนิ่งเสีย ไม่ตรัสถึงอีกต่อไป ต่อมากองทหารม้าทัพหน้าไล่ตาม เรือพระที่นั่งของพระบรมไตรโลกนาถ ขณะยั้งพักที่ปากยม และกองทัพม้าได้รายล้อมทัพสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถไว้แล้ว จึงได้ส่งม้าเร็วรีบแจ้งขอรับพระบรมราชโองการจากพระเจ้าติโลกราช พระองค์ตรัสว่า "มันก็พญา (กษัตริย์) กู ก็ พญา กูแป้ (ชนะ) มัน มันก็ละอายแก่ใจแล้ว หมื่นด้ง มึงอย่าทำเลย" ต่อมากองทัพหน้าไปตีเมืองปากยม (พิจิตร)
แต่งให้หมื่นด้งนครไปตีเมืองเชลียง
อยุธยาถูกกลศึกผ่านสายลับที่ถูกจับได้ ให้เห็นกองทัพเชียงใหม่จะยกทัพไปทำศึกทางเหนือ จึงแจ้งให้อยุธยายกทัพมาชิงเอาเชียงใหม่ โดยเชียงใหม่รอซุ่มโจมตีที่ดอยขุนตาล (รอยต่อ ลำพูนกับลำปาง) ตีกองทัพอยุธยาแตกพ่าย ถูกไล่ติดตามตลอดทั้งคืนผ่านห้างฉัตร ลำปาง เด่นชัย จนถึงเขาพลึง (เขตต่อแดน แพร่กับอุตรดิตถ์) ครั้งนั้นพระอินทราชา พระราชโอรสในพระบรมไตรโลกนาถต้องปืนที่พระพักตร์
อยุธยา สบโอกาส กองทัพเชียงใหม่ยกขึ้นขึ้นเหนือไปตี เมืองพง ไทลื้อ (มณฑลยูนนาน ประเทศจีน) จึงยกทัพเข้าตีเมืองแพร่ ฝ่ายหมื่นด้งนคร ผู้รักษาเมืองเชียงใหม่ ยกทัพไปช่วยเมืองแพร่ป้องกันเมือง ครั้นกองทัพพระเจ้าติโลกราชแผด็จศึกเมืองพงไทลื้อ เสร็จแล้วจึงกลับยังไม่ทันถึงเชียงใหม่ ทราบข่าวจึงยกทัพหลวงไปช่วยเมืองแพร่ พระบรมไตรโลกนาถ ทรงเห็นกองทัพเชียงใหม่ใหญ่เกินกำลังจะต้านทานได้จึง ถอยทัพกลับ โดยทัพหลวงมหาราชเชียงใหม่ไล่ติดตามไปแต่ไม่ทัน จึงไม่ได้รบกัน ทัพหลวงผ่านเมืองเชลียงกลัวหายนะภัยจึงขอเป็นข้าราชบริภาร จากนั้นทัพมหาราชเชียงใหม่เข้าตีเมืองพิษณุโลกสองแคว แต่ไม่สำเร็จ จึงถอยทัพไปตีเมืองปางพล แล้วกลับผ่านเมืองเชลียง ลำปาง เชียงใหม่


ต่อมาเจ้าเมืองเชลียงเป็นกบถจึงให้หมื่นด้งนครยกทัพไปจับกุมตัวเจ้าเมืองเชลียงมายังเชียงใหม่ และเนรเทศไปอยู่เมืองหาง พร้อมกับแต่งตั้งให้หมื่นด้งนคร ครองเมืองเชลียง (สวรรคโลก) เพิ่มขึ้นอีกเมืองหนึ่ง
ต่อมาเชียงใหม่ถูกพระเถระพุกามที่รับจ้างจากอยุธยา มาเชียงใหม่ หลอกให้ตัดต้นไม้นิโครธ ไม้แห่ง "เดชเมือง" ซึ่งชาวเชียงใหม่สักการบูชาที่แจ่งศรีภูมิ จนบ้านเมืองปั่นป่วน ต่อมามีเหตุการณ์ไม่คาดคิด คือ พระเจ้าติโลกราช สั่งประหารท้าวบุญเรือง พระราชโอรสองค์เดียวที่ถูกท้าวหอมุก (นางสนม) ใส่ความว่าจะชิงราชบัลลังก์ ภายหลังทราบว่าพระโอรสบริสุทธิ์ ก็ทรงเสียพระทัย อีกทั้งทรงกริ้วและหวาดระแวงว่าหมื่นด้งนคร ทหารเอกคู่บัลลังก์ ที่ส่งให้ไปต้านทานกองทัพอยุธยาที่ชายแดนเมืองเชลียง เชียงชื่น (สวรรคโลก จ.สุโขทัย) จะแปรพักตร์ไปเข้าอยุธยา จึงเรียกตัวไปเชียงใหม่และถูกประหารชีวิต เมื่อทหารเอกคู่บัลลังก์หมื่นด้งนครถึงแก่อนิจกรรมแล้ว พระเจ้าติโลกราชจึงให้หมื่นแคว่นผู้ครองเมืองแจ้ห่ม (อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง) ไปครองเมืองเชียงชื่น (สวรรคโลก) แต่ถูกพระยาสุโขทัยยกทัพเข้าตี จนหมื่นแคว่นตายในที่รบ เมืองสุโขทัยจึงได้เมืองเชียงชื่นกลับคืน หลังจากอยู่ใต้ธงมหาราชเชียงใหม่ มายาวนาน 23 ปี อันเป็นต้นเรื่องและเป็นประเด็นหลักใน ลิลิตยวนพ่ายที่เทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ที่ตีเมืองเชลียง เมืองเชียงชื่นหรือเมืองสวรรคโลก (อดีตเมืองลูกหลวงของสุโขทัย) กลับคืนมาอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภารได้อีกครั้งในปี พ.ศ. 2017
ศักราช 837 มะแมศก (พ.ศ. 2018) มหาราช (เชียงใหม่) ขอมาเป็นไมตรี...พงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์
นับจากนี้เป็นเวลา 12 ปีที่อาณาจักรทั้งสองเป็นมิตรมีไมตรีต่อกัน และมหาราชทั้งสองพระองค์ล่วงเข้าสู่วัยชรา มหาราชเชียงใหม่สวรรคตในปี 2030 ขณะพระชนมายุได้ 78 พรรษาครองราชย์ 46 ปีและตามติดกันในปีต่อมา มหาราชอยุธยา สวรรคตในปี 2031 ขณะพระชนมายุได้ 57 พรรษา ครองราชย์ 40 ปี....
การทำสงครามกับกรุงศรีอยุธยา[แก้]
อาณาจักรล้านนาในสมัยพระเจ้าติโลกราช ได้ทำสงครามครั้งแรกกับอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา ต่อมาจึงทำสงครามกับพระบรมไตรโลกนาถหลายครั้งด้วยกัน ในปี พ.ศ. 1985 เจ้าเมืองเทิง แห่งอาณาจักรล้านนา (ปัจจุบันคือ อ.เทิง จังหวัดเชียงราย) ไม่พอใจที่ หมื่นโลกนคร แม่ทัพของพระเจ้าติโลกราช ติดตามไปฆ่าท้าวซ้อย เจ้าเมืองฝางที่แข็งเมืองและหลบหนีไปพึ่งบารมี จึงได้ขอสวามิภักดิ์ต่อกรุงศรีอยุธยาซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบรมราชาธิราช ที่ 2 (เจ้าสามพระยา) จึงทรงถือเป็นโอกาสเสด็จยกทัพไปตีนครเชียงใหม่ ในขณะเดียวกัน พระเจ้าติโลกราชได้จับเจ้าเมืองเทิงประหารชีวิต กองทัพอยุธยาได้ถูกกลศึกของฝ่ายเชียงใหม่ปลอมตัวเป็นตะพุ่นช้าง (คนหาอาหารให้ช้าง) ปะปนเข้าไปในกองทัพเจ้าสามพระยาเมื่อได้จังหวะยามวิกาลจึงตัดปลอกช้าง ฟันหางช้างจนช้างแตกตื่นแล้วฟันนายช้างตาย กองทัพเชียงใหม่ได้ยินเสียงอึกทึกก็ได้ทียกเข้าตีกองทัพกรุงศรีอยุธยาแตกพ่ายไป เจ้าสามพระยาได้พยายามอีกครั้งหนึ่งโดยยกทัพกรุงศรีอยุธยาเข้าตีเมืองเชียงใหม่แต่ประชวรสิ้นพระชนม์กลางทาง รวมการทำสงครามระหว่าง 2 อาณาจักร ยืดเยื้อยาวนานถึง 33 ปี (นับแต่ พ.ศ. 1985 สมัยพระเจ้าสามพระยา ถึง พ.ศ. 2018 สมัยพระบรมไตรโลกนาถ)



พระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนากับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งอาณาจักรอยุธยา
ในสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 – พ.ศ. 2031) พระองค์ขึ้นครองราชย์ขณะพระชนมายุได้ 17 พรรษา และก่อนขึ้นครองราชย์ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก เมื่อขึ้นครองราชย์ได้เสด็จลงมาประทับที่กรุงศรีอยุธยา เป็นเหตุให้เจ้าเมืองต่างๆ ชิงอำนาจกันเอง และเจ้าเมืองพิษณุโลกสองแคว แปรพักตร์ไปสวามิภักดิ์พระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนา จึงนำกองทัพมาตีเมืองต่างๆของอยุธยา คือ เมืองพิษณุโลกสองแคว เมืองปากยม (พิจิตร) เมืองชากังราว (กำแพงเพชร) เมืองสุโขทัย เมืองเชลียง (ศรีสัชชนาลัย) เมืองเชียงชื่น (สวรรคโลก) โดยได้เข้าตีเมืองสุโขทัยในปี พ.ศ. 1994 แต่เมื่อทรงทราบข่าวว่าพระเจ้ากรุงล้านช้างยกทัพมาประชิดแดนล้านนาจึงโปรดให้ยกทัพกลับ แต่กองทัพกรุงศรีอยุธยาตามไปตีกองหลังของกองทัพพระเจ้าติโลกราชแตกที่ "เมืองเถิน"แตกพ่ายไป

ครั้นถึง พ.ศ. 2004 พระเจ้าติโลกราชยกทัพลงมาตีหัวเมืองตอนเหนือของอยุธยาอีก แต่บังเอิญพวกฮ่อ (จีน ยูนนาน) ยกกำลังมาตีชายแดนเชียงใหม่ก็จำต้องยกทัพกับไปรักษาเมืองขึ้นกับเชียงใหม่ อย่างไรก็ดี พระเจ้าติโลกราชได้ยกทัพมารุกรานหัวเมืองฝ่ายเหนือของอยุธยาอยู่เนืองๆ เป็นเหตุให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเปลี่ยนนโยบายเสด็จขึ้นไปประทับครองราชสมบัติเสีย ณ เมืองพิษณุโลกเมื่อ พ.ศ. 2006โดยยกฐานะเมืองพิษณุโลกเป็นเมืองหลวง เพื่อสะดวกในการจัดกำลังต่อตีทัพมหาราชฝ่ายเหนือ อีกทั้งยังทำหัวเมืองฝ่ายเหนือซึ่งมักแก่งแยกอำนาจกันและแตกออกจากฝ่ายกรุงศรีอยุธยามีความสามัคคีด้วยความยำเกรงสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ได้ประทับครองราชย์อยูที่เมืองพิษณุโลกจนสิ้นรัชกาล เมื่อ พ.ศ. 2031 แต่กระน้นก็ยังต้องคอยสู้รบกับการรุกรานของพระเจ้าติโลกราชอยู่เรื่อยมารวม 27 ปี





การสงบศึกและเป็นพันธมิตร
ใน พ.ศ. 2008 ขณะพระชนมายุได้ 34 พรรษา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถผนวชที่วัดจุฬามณี เมืองพิษณุโลก พระองค์ส่งราชทูตมายังเชียงใหม่เพื่อขอเครื่องอัฐบริขารพร้อมกับพระเถรานุเถระไปทำพิธีผนวชจากพระเจ้าติโลกราช (ขณะนั้นมีพระชนมายุ 56 พรรษา) จึงโปรดให้หมื่นล่ามแขกเป็นราชทูตพร้อมด้วยพระเทพคุณเถระและพระอับดับ 12 รูปลงมาเมืองพิษณุโลกเพื่อเข้าเฝ้าถวายเครื่องอัฐบริขารแด่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ตามหลักฐานศิลาจารึกวัดจุฬามณี ที่บันทึกว่า " ศักราช 826 ปีวอกนักษัตร (พ.ศ. 2007) อันดับนั้น สมเด็จพระรามาธิบดีศรีบรมไตรโลกนาถบพิตรเปนเจ้า ให้สร้างอาศรมจุฬามณีที่จะเสด็จออกทรงมหาภิเนษกรม ขณะนั้น เอกราชทั้งสามเมืองคือ พระญาล้านช้าง แลมหาราชพระญาเชียงใหม่ แลพระญาหงสาวดี ชมพระราชศรัทธา ก็แต่งเครื่องอัฐบริขารให้มาถวาย" ในขณะผนวช 8 เดือน 15 วัน พระองค์ได้ทรงถือโอกาสส่งสมณะทูตชื่อโพธิสัมภาระมาขอเอาเมืองเชลียง -สวรรคโลกคืน เพื่อ"ให้เป็นข้าวบิณฑบาตร"จากพระเจ้าติโลกราชแต่พระเจ้าติโลกราชเห็นว่าเป็น"กิจของสงฆ์"จึงทรงนิมนต์พระมหาเถระฝ่ายอรัญวาสีทุกรูปมาประชุมเพื่อถวายข้อปรึกษา ครั้งนั้นมีพระเถระเชียงใหม่ชื่อสัทธัมมรัตตนะได้กล่าวกับโพธิสัมภาระสมณะทูตของอยุธยา ว่า" ตามธรรมเนียมท้าวพระญา (พระมหากษัตริย์) เมื่อผนวชแล้วก็ย่อมไม่ข้องเกี่ยวข้องในเรื่องบ้านเมืองอีก เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถผนวชแล้วยังมาขอเอาบ้านเอาเมืองนี้ ย่อมไม่สมควร"พระบรมไตรโลกนารถได้ยินคำเหล่านั้น ก็นิ่งเก็บไว้ในใจ เมือทรงลาผนวชแล้วจึงได้ออกอุบายจ้างให้พระเถระพุกามรูปหนึ่งที่ทรงไสยคุณไปเป็นไส้สึกในเชียงใหม่ ทำไสยศาสตร์ ยุแยงให้พระเจ้าติโลกราช ทำลายสิ่งศักดิ์สิทธ์ของเมือง อาทิ ตัดโค่นไม้นิโครธประจำเมือง จนเกิดอาเพศ มีความระแวงสงสัยบรรดาข้าราชบริพาร จนถึงกับสำเร็จโทษท้าวบุญเรืองราชโอรสตามที่เจ้าจอมหอมุกใส่ความว่าจะชิงราชบัลลังก์ ครั้นทราบความจริงภายหลังทรงเสียพระทัยที่หลงเชื่อจนประหารราชโอรสพระองค์เดียว รวมทั้งการลงโทษหมื่นด้งนครผู้เป็นแม่ทัพเอกคู่บารมีผู้พิชิตเมืองเชลียง เชียงชื่น (ศรีสัชนาลัย สวรรคโลก ซึ่งเคยเป็นเมืองลูกหลวงของสุโขทัย) ที่ถูกใส่ความอีกด้วย ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ส่งราชทูตนำเครื่องราชสักการะมาเยือนเชียงใหม่ นัยว่ามาสืบราชการลับที่ จ้างพระเถระพุกามทำคุณไสย์แก่เชียงใหม่ ต่อมาพระเถระพุกามถูกจับและเปิดเผยความจริง จึงถูกลงราชทัณฑ์นำตัวใส่ขื่อคาไปทิ้งลงแม่นำปิงที่"แก่งพอก" เพื่อให้คุณไสย์ชั่วร้ายสนองคืนกลับแก่ผู้ที่สั่งมา






                                                       อ. เกรียงไกร เมืองมูล  (ศิลปิน )

                                                      
                                                            
                                                      Prof. Krengkrai Muangmool 





พระเจ้าติโลกราชทำสงครามกับพระบรมไตรโลกนาถต่อเนื่องมาเป็นเวลา 27 ปี ต่างพลัดกันรุกผลัดกันรับ ครั้งนั้นพระองค์ขยายอำนาจขึ้นไปทางทิศเหนือตีได้เมืองเชียงรุ้ง (เชอหลี่ใหญ่หรือจิ่งหง) สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ภาคใต้ของประเทศจีน ตีได้เมืองเชียงตุง (เชอหลี่น้อยหรือเขมรัฐ) ทิศตะวันตก ได้รัฐฉาน ฝั่งตะวันตกแม่น้ำสาละวิน ติดพรมแดนมู่ปางหรือแสนหวี คือเมืองสีป้อ เมืองนาย เมืองไลค่า เมืองเชียงทอง รวมกว่า 11 เมือง โดยเจ้าฟ้าเมืองต่างๆนำไพร่พลเมืองมาพึ่งพระโพธิสมภารที่เชียงใหม่ 12,328 คน ทางทิศตะวันออกจรดล้านช้าง ประเทศลาว ทิศใต้จรด ตาก เชลียง (ศรีสัชนาลัย) เชียงชื่น (สวรรคโลก) ซึ่งอยู่ห่างจากสุโขทัยเพียง 60 กม.ต่อมา ในปี พ.ศ. 2018 พระเจ้าติโลกราชจึงทรงติดต่อกับฝ่ายกรุงศรีอยุธยาขอเป็นไมตรีกัน ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาซึ่งบอบช้ำมากพอกันจึงรับข้อเสนอของพระเจ้าติโลกราช ในปลายสมัยของรัชกาลของทั้งสองพระองค์อาณาจักรล้านนากัยกรุงศรีอยุธยาจึงมีความสงบเป็นไมตรีต่อกันจนสิ้นรัชกาลโดยพระเจ้าติโลกราชสวรรคตในปี พ.ศ. 2030 และให้หลังอีก 1 ปี สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถก็สวรรคต ในปี พ.ศ. 2031 เป็นการปิดฉาก ศึก 2 มหาราชแห่ง 3 โลก ("ติโลก""ไตรโลก"แปลว่า 3 โลกคือเมืองสวรรค์ เมืองมนุษย์ และเมืองนรก)

ศาสนา
ในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช พุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง พระองค์ทรงเลื่อมใสและทำนุบำรุงพุทธศาสนา ทรงสนับสนุนคณะสงฆ์สำนักวัดป่าแดง (ลังกาวงศ์นิกายสิงหลใหม่) ทรงนิมนต์พระมหาเมธังกรญาณแกนนำกลุ่มลังกาวงศ์ใหม่จากลำพูน มาจำพรรษาที่วัดราชมณเฑียร และทรงสถาปนาให้พระมหาเมธังกรญาณขึ้นเป็นพระมหาสวามี และส่วนของพระองค์เองก็ผนวชชั่วคราว ณ วัดป่าแดงมหาวิหาร การสนับสนุนสงฆ์ฝ่ายลังกาวงศ์สิงหล ทำให้ฝ่ายลังกาวงศ์ใหม่รุ่งเรืองมาก กุลบุตรมาบวชเป็นจำนวนมาก พระภิกษุในนิกายสิงหลเพิ่มขึ้นมาก นิกายสิงหลใหม่นี้เน้นการศึกษาภาษาบาลีและการปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัย การศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมเจริญก้าวหน้าอย่างสูง และความขัดแย้งระหว่างลังกาวงศ์ใหม่สายสิงหล (วัดป่าแดง) และลังกาวงศ์เก่าสายรามัญ (วัดสวนดอก) ที่มีอยู่ในยุคนั้นก็ทำให้พระสงฆ์สายรามัญตื่นตัวพยายามศึกษาพระปริยัติเช่นกัน พระเจ้าติโลกราชทรงส่งเสริมการศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมทรงยกย่องพระภิกษุที่มีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก พระในสมัยนั้นจึงมีความรู้สูงที่ปรากฏมีชื่อเสียงมาก เช่น พระโพริรังสี พระธรรมทินนเถระ และพระญาณกิตติเถระ เป็นต้น




                                      Lanna women at the Morning market.





















ความเชี่ยวชาญในการรจนาคัมภีร์ภาษาบาลีและรอบรู้พระไตรปิฎกของพระเถระชาวล้านนาในยุคนั้น ได้ก่อให้เกิดการทำสังคายนาสอบชำระพระไตรปิฎกใน พ.ศ. 2020 ที่วัดมหาโพธาราม (เจ็ดยอด) ซึ่งใช้เวลา 1 ปีจึงเสร็จ นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 8 ของโลกและพระไตรปิฎกฉบับที่สอบชำระในสมัยพระเจ้าติโลกราชจึงถือเป็นคัมภีร์หลักฐาน สำคัญชิ้นหนึ่งของพุทธศาสนาในล้านนาที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

พระเจ้าติโลกราชทรงบำรุงพระสงฆ์ ถวายสมณศักดิ์แก่พระมหาเมธังกรญาณอาจารย์ของพระองค์เป็นที่ "พระอดุลศักตยาธิกรณมหาสามี" ทรงปรารถนาเป็นทายาทในศาสนาและสนองคุณพระชนนีจึงทรงมอบราชสมบัติแด่พระชนนี แล้วผนวชโดยมีพระอดุลศักตยาธิกรณมหาสามีเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระญาณมงคลเถระเป็นพระอุปัชฌาย์ ผนวชอยู่ไม่นานก็ทรงลาผนวชออกมาครองราชย์ต่อ

การสร้างและบูรณะวัดสำคัญๆ ในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช มีดังนี้ ในปี พ.ศ. 1999 โปรดให้สร้างวัดเป็นที่อยู่ของพระอุตตมปัญญาเถระ ที่ริมน้ำแม่ขาน (โรหิณี) โปรดให้ปลูกต้นโพธิในอารามนั้นแล้วตั้งชื่อว่า วัดมหาโพธาราม จากนั้นสร้างสัตตมหาสถาน ในปีวอก พ.ศ. 2020 โปรดให้สร้างมหาวิหารในอารามนั้นและสร้างวัดราชมณเฑียร วัดป่าตาล วัดป่าแดงหลวงมหาวิหาร เป็นต้น ทรงบูรณะต่อเดิมเจดีย์หลวง ให้ใหญ่และสูงกว่าเดิม กว้างด้านละ 35 วา สูง 45 วา บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในพระเจดีย์นั้น

ทรงสร้างโรงอุโบสถในวัดป่าแดงหลวง ซึ่งเป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระราชบิดา (พญาสามฝั่งแกน) และพระราชมารดา เมื่อสร้างพระอุโบสถเสร็จในวันมหาปวารณา จึงทรงร่วมพิธีผูกพัทธสีมาที่วัดป่าแดงนั้นด้วย ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกต จากวัดพระธาตุลำปางหลวง นครเขลางค์ มาประดิษฐานไว้ที่ซุ้มจระนำด้านตะวันออกแห่งเจดีย์หลวง

ทรงมอบภาระให้สีหโคตเสนาบดีและอาณากิจจาธิบดีมหาอำมาตย์ ดำเนินการหล่อพระพุทธรูปแบบลวปุระขนาดใหญ่ ด้วยทองสัมฤทธิ์หนักสามสิบสามแสน (=3,960 กิโลกรัม) ณ วัดป่าตาลมหาวิหารทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีพระธรรมทินนมหาเถระเป็นเจ้าอาวาส และในยุคนั้นได้มีการสถาปนาความเชื่อเรื่องพระธาตุในที่ต่างๆ ที่มีอยู่ในอาณาจักรโดยอาศัยความสัมพันธ์ทางศาสนาของคนในถิ่นต่างๆ โดยการสร้างตำนานเมืองและตำนานพระธาตุ ขึ้นอย่างแพร่หลาย

การสังคายนาชำระพระคัมภีร์พระไตรปิฏก
ที่วัดเจดีย์เจ็ดยอดนี้เองที่พระเจ้าติโลกราชโปรดให้ชุมนุมพระเถรานุเถระ โดยมีพระธรรมทินมหาเถระ เจ้าอาวาสวัดป่าตาลเป็นประธาน กระทำสังคายนาชำระพระคัมภีร์พระไตรปิฎกที่วัดโพธารามนี้ได้รับการยอมรับต่อเนื่องต่อเนื่องว่าเป็นการสังคายนาครั้งที่ 8 ในประวัติพระพุทธศาสนต่อจากที่ทำมาแล้ว 7 ครั้งในประเทศอินเดียและศรีลังกา โดยเรียกการสังคายนาครั้งที่ 8 ที่เชียงใหม่นี้ว่า “อัฏฐสังคายนา” ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยนี้ จนเป็นที่เลื่องลือพระเกียรติยศไปทั่วประเทศข้างเคียง ทำให้พระเจ้าติโลกราชได้รับากรเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า “พระเจ้าศิริธรรมจักรวัติโลกราชามหาธรรมิกราช พระเจ้านครพิงค์เชียงใหม่”

การก่อสร้างและปฏิสังขรพระพุทธสถาน

เจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิพระเจ้าติโลกราช วัดเจ็ดยอด เชียงใหม่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2030
เมื่อปี พ.ศ. 2022 พระเจ้าติโลกราชโปรดให้หมื่นด้ามพร้าคตเดินทางไปประเทศลังกาจำลองแบบโลหปราสาทและมาก่อสร้างเป็นเจดีย์ 7 ยอด ณ วัดมหาโพธาราม (วัดเจ็ดยอด) และจำลองรัตนมาลีเจดีย์เพื่อนำแบบมาปฏิสังขรพระเจดีย์ใหญ่ที่วัดเจดีย์หลวงที่พระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์มังรายโปรดฯ ให้สร้างขึ้น พระเจดีย์ใหญ่องค์นี้จึงได้รับการขยายเสริมฐานให้กว้างเป็น 70 เมตร สูง 88 เมตร โปรดให้บรรจุพระบรมธาตูที่ได้มาจากลังกาไว้ในองค์พระเจดีย์นี้ พร้อมทั้งโปรดฯ ให้สร้างหอพระแก้วตามอย่างโลหปราสาทที่ลังกา แล้วอาราธนาพระแก้วมรกตและพระแก้วขาวมาไว้ในหอพระแก้ววัดเจดีย์หลวงนื

ในปี พ.ศ. 2025 โปรดฯ ให้อัญเชิญพระพุทธปฏิมากรแก่นจันทน์แดงจากวิหารวัดป่าแดงเหนือเมืองพะเยามาไว้ที่นครเชียงใหม่ โดยเสด็จไปรับด้วยพระองค์เองที่เมืองลำพูน ตลอดเวลาในช่วงปลายรัชกาล พระเจ้าติโลกราชได้สนพระทัยทะนุบำรุงพระศาสนาเป็นอันมาก ได้โปรดฯ ให้หล่อพระพุทธรูปทองคำองค์หนึ่งและโปรดฯ ให้บรรจุพระบรมธาตู 500 องค์ ขนานนามว่า พระป่าตาลน้อย ประดิษฐานไว้ ณ วัดป่าตาลวัน ที่ซึ่งพระธรรมทินเถระผู้เป็นประธานในการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 8 เป็นเจ้าอาวาส

พระเจ้าติโลกราชเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2030พระชนมายุ 78 พรรษา (ก่อนสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเพียงปีเดียวขณะพระชนมายุ 57 พรรษา) หลังครองราชย์มาเป็นเวลานานถึง 46 ปี พระองค์ได้ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่อาณาจักรล้านนาและนครเชียงใหม่มากที่สุดพระองค์หนึ่ง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระองค์ ทางราชการจึงได้ตั้งชื่อหอประชุมใหญ่ของจังหวัดเชียงใหม่ว่า “หอประชุมติโลกราช” (ปัจจุบัน อยู่ติดกับศาลากลางจังหวัด (หลังเก่า) ในวัดอินทขิลสะดือเมือง หรือบริเวณอนุสาวรีย์ 3 กษัตริย์) ใจกลางเมืองเชียงใหม่ ในช่วงรัชสมัยของพระองค์อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรืองและยังมีผลสืบเนื่องต่อมาถึงรัชสมัยของพญายอดเชียงราย และรัชสมัยของพระเมืองแก้ว (พระเจ้าภูตาธิปติราช หรือพระเจ้าติลกปนัดดาธิราช) ผู้เป็นเหลนของพระองค์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2038-2068 อีกด้วย

                                           
                                           Thank you for all information from Thai Wikipedia
                                                we will translate to English soon.
                   

temp song