Tuesday, April 20, 2021

Rest in Progress : Chavalit Soemprungsuk

 





 

                          Suchai Pornsirikul & Chavarit Sermprungsuk



                                                            Calder - Picasso
                                                               Picasso Museum

























18 เมษายน 2563 วันที่เราได้รับข่าว

จากทางรพ.ถึงการป่วยจากCOVID-19

ของลุงจิ๋ว อาจารย์ชวลิต เสริมปรุงสุข

ชวลิต เสริมปรุงสุข เป็นศิลปินแห่งชาติ ผู้ใช้ชีวิตควบคู่กับการทำงานศิลปะทั้งในประเทศไทยและเนเธอร์แลนด์ และเป็นนักเรียนไทยรุ่นสุดท้าย

ที่มีโอกาสได้สัมผัสบรรยากาศการเรียนกับ ‘อาจารย์ฝรั่ง’ ศิลป์ พีระศรี หลังจากเรียนจบจากมหาวิทยาลัยศิลปากร อ.ชวลิตได้ย้ายถิ่นฐานไปทำงานในฐานะศิลปินอิสระที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ในวัย 80 ปี อ.ชวลิตผลิตผลงานศิลปะออกมาอย่างสม่ำเสมอ และเพิ่งมีงานแสดงล่าสุดคือ Chavalit 80+ Art Festival เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

ชวลิต เสริมปรุงสุขได้สมรสกับภาณี มีทองคำ ศิลปินรุ่นน้องจากรั้วศิลปากรที่ได้ย้ายมาใช้ชีวิตร่วมกันที่ประเทศเนเธอร์แลนด์จนถึงปัจจุบัน โดยภาณีได้รับการดูแลอยู่ที่สถานพยาบาลคนชรา Stichting Cordaan ในกรุงอัมสเตอร์ดัมเนื่องจากอาการอัลไซเมอร์ สำหรับอ.ชวลิตท่านมีโรคประจำตัวคือ โรคหัวใจ และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โดยได้รับการรักษาจนอาการดีขึ้นเป็นลำดับ อ.ชวลิตเริ่มมีอาการอ่อนเพลียและไอตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2563 ก่อนจะได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าท่านได้รับเชื้อโคโรน่าไวรัส และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล OLVG Oost กลางกรุงอัมสเตอร์ดัมเมื่อวันที่ 17 เมษายนที่ผ่านมา

ตลอดการรักษา อ.ชวลิตได้รับการดูแลจากทีมแพทย์อย่างใกล้ชิด และมีการติดตามอาการอย่างต่อเนื่องจากญาติมิตรที่ประเทศไทย และทางสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก โดยประสานงานกับเพื่อนฝูงและลูกศิษย์ในเนเธอร์แลนด์ ในการรักษามีการให้ออกซิเจน ยาระงับอาการ และยาต้านไวรัสเป็นลำดับ แต่อาการค่อยๆ ทรุดลง ทางโรงพยาบาลได้เปิดให้มีการเข้าเยี่ยมจากคนสนิท พร้อมทั้งได้เปิดเพลงคลาสสิคที่ท่านชื่นชอบ เปิดหน้าต่างรับแสงแดดและอากาศบริสุทธิ์ของฤดูใบไม้ผลิให้เข้าสู่ห้องพัก ท่านได้นอนหลับไปโดยไม่มีอาการเจ็บปวดใดๆ ในช่วงเวลาสุดท้าย จนกระทั่งถึงแก่กรรมอย่างสงบในวันที่ 27 เมษายน 2563 เวลา 11:30 น. สิริรวมอายุได้ 80 ปี

อ.ชวลิตมีความประสงค์ที่จะจากโลกไปอย่างเรียบง่าย สมถะ โดยไม่ต้องมีการจัดงานพิธีศพใดๆ ท่านมีเจตจำนงค์ที่จะบริจาคร่างกายเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ สอดคล้องกับในปี 2556 ที่อ.ชวลิตได้ทำการส่งมอบผลงานที่เคยสร้างสรรค์ไว้ทั้งหมดให้กับกระทรวงวัฒนธรรมเพื่อเป็นสมบัติของชาติ โดยหวังที่จะให้เกิดประโยชน์กับคนรุ่นหลังต่อไป

ตลอดระยะเวลาที่ท่านผลิตงานออกมาอย่างมุ่งมั่น ด้วยความรักและเชื่อมั่นในศิลปะ รวมถึงบุคลิกที่ตรงไปตรงมา และเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังงานบวก ทำให้อ.ชวลิต เป็นหนึ่งในศิลปินที่เป็นที่เคารพรักของผู้คนในวงการศิลปะไทย รวมถึงได้เป็นแรงบันดาลใจให้กับกลุ่มคนรักศิลปะมากมาย ท่ามกลางความอาลัยของญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง และลูกศิษย์ทั้งในประเทศไทยและในเนเธอร์แลนด์ ขอเชิญชวนให้ทุกท่านร่วมแสดงความระลึกถึงอ.ชวลิต เสริมปรุงสุขด้วยการโพสต์ข้อความหรือผลงานสร้างสรรค์ผ่านช่องทาง Facebook Page Chavalit Festival หรือด้วยแฮชแทค #chavalitfestival เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองถึงตัวตนและจิตวิญญาณศิลปินของอ.ชวลิตร่วมกัน


Suchai Pornsirikul









Chavalit Soemprungsuk at 80+

Janine Yasovant : Writer 


After an exhibition in Amsterdam, Chavalit Sermprungsuk,Thai National Artist in Visual Arts (Painting, 2014), came back to Thailand again with new exhibitions: 80+ Art Festival Thailand exhibitions in 6 locations: Silpa Bhirasri‘S House, Ratchadamnoen Contemporary Art Center, Lhong 1919. Baramee Of Art, Bangkok Art And Culture Centre ( Bacc), Numthong Art Space, from November 2019-February 2020

Chavalit Soemprungsuk was born in 1939. He was educated at the primary and secondary school of Vajiravudh College, an all-boys boarding school in Bangkok. After that he went to study at the College of Fine Arts and then at the Faculty of Painting, Sculpture and Graphic Arts University of the Arts, Silpakorn University.

Chavalit Soemprungsuk was in one of the last groups of students who had the opportunity to study with Silpa Bhirasri before he passed away. After graduating from Silpakorn University, he received a scholarship from the Ministry of Culture of the Netherlands to study at the Rijkskademie van Beeldende Kunsten in Amsterdam. After he graduated, he became a Sponsored Artist of the Netherlands government, receiving financial patronage and permanent residence.

He married a Thai woman, Phanee Meethongkum, who came to study in the Netherlands after she graduated from Silpakorn University.

He began his career with realism artworks, which later developed into abstraction. Over the past six decades, he has been recognized as one of the key figures in Thai abstract and non-objective art. During a recent solo exhibition In Amsterdam with Chavalit Soemprungsuk at Ratchadamnoen Contemporary Art Center, he decided to donate over 4,000 items of his possessions, including his art collection, books, furniture, personal belongings, and the structure of his Amsterdam apartment to the Thai government, with the request that the collection  be accessible to the public, in order to benefit the younger generations of Thai artists.

After giving up his material properties in preparation for the last stage of his life, Chavalit Soemprungsuk, at the age of 70, shifted his artistic medium from large-scale sculptures and paintings to digital computer prints. During 2013–2019, he developed an immense body of digital works, as well as experimenting with one-off edition digital inkjet prints in his Amsterdam atelier.

This collection was  displayed for the first time in all six venues of ‘80+’ exhibitions, in celebration of his 80th anniversary.

Here was the interview with me in the middle of February 2020


JY. Please tell us about your return to many exhibitions at the same time. Up to six locations in Bangkok in the beginning of the year 2020.


CS. After age 70, I began to prepare to die and manage all my available treasures. A self-built house in Amsterdam was ceded to the Ministry of Culture to organize an exhibition at the Ratchadamnoen.


I no longer wanted to create larger art, but I didn't stop working. I kept everything from my artworks on my computer. My intention is that I want Thai people who love Art  and the new generation in Thailand to have a chance to see my work. Artists from Thailand worked in both Thailand and The Netherlands for the past 60 years. ‘80+’ was the latest: a six-part series of solo exhibitions. It was the exhibition No. 5 from me to Thailand.


JY. Please tell us about the venues in Bangkok


CS. The 80+ Art Festival Thailand November 2019 – February 2020 was at:


SILPA BHIRASRI ‘s House

3-30 November 2019


RATCHADAMNOEN CONTEMPORARY ART CENTER .

3-30 November 2019


LHONG 1919

Exhibition: 16 November-10 December 2019


BARAMEE OF ART

14 December 2019-20 February 2020


BANGKOK ART AND CULTURE CENTRE ( BACC)

14-26 January 2020


NUMTHONG ART SPACE

25 January-15 February 2020


JY. What do you see from new Thai generations that should be a new dimension for development and increased interest in art?

CS. Viewing art from Thailand is still very different from the West. I cannot tell if there is a new dimension developing from the new generation or not. I would say, organizing activities for them to visit everywhere, and give away attention prizes just for fun.

JY. Please tell us a story about your personal life, about your past life.


CS. My life with my wife has been one of love for over 60 years. We've known each other since we studied at Silpakorn University. She lost her parents at a young age. Moving to a foreign country when we were young might be the reason for our uninhibited personas.


When encountering life's terrible things: Our son died in a fire at the age of two. This has always been a great family wound.


Before that, I thought life was endless because my father had lived a long life. Until the tragedy in our home: my son and a friend who came as a baby sitter had died at the same time. I was so confused as was my father. I began to think that people can die any day. You can stay today, tomorrow could be your last day.


I prepared to die and keep managing until the age of 70. I felt that I may die faster. I had heart surgery and Lymphoma. And there were a lot of chances for me for death, but still I survive.


Many people thought that I was successful. But never knew that I was also sad. I used to go through sadness too. Too much suffering, losing a child was a big misery. It won't be forgotten, but we have to live with it. It's difficult.


Yet we have art. After my child's death, I made another type of art. It was a matter of sadness. We did it with our feelings at that time. We have to do art because we were born to do art. Art depends on our lives at that time. It will come out sincerely. How can you be a fake? Your child is dead. You write beautiful flowers. It's impossible.


Art for me is life. We suffer. We are happy. We are sick. We lose, we are hurt, we are sad. It is part of the art of people. Not everyone has happiness but not everyone will see only flowers and the sky. Every life is like that.














ชวลิต เสริมปรุงสุข ที่ '80+'
 จานีน ยโสวันต์

หลังจากการจัดนิทรรศการในกรุงอัมสเตอร์ดัม
ชวลิต เสริมปรุงสุข ศิลปินแห่งชาติ สาขา ทัศนศิลป์ (จิตรกรรม)
ปีที่ได้รับ พ.ศ.2557ได้กลับมาประเทศไทยอีกครั้ง
กับนิทรรศการครั้งใหม่ '80+' เทศกาลศิลปะ ในประเทศไทย
ที่จัดขึ้นถึง 6 แห่ง คือ
บ้านอาจารย์ฝรั่ง,  หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน,
ล้ง 1919, หอธรรมพระบารมี หอศิลป์ร่วมสมัย,
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, นำทอง อาร์ต สเปซ
นิทรรศการที่จัดเริ่มตั้งแต่ พฤศจิกายน 2562 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563


ชวลิต เสริมปรุงสุข เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2482 เรียนจบชั้นประถมและมัธยม ที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำของนักเรียนชายในกรุงเทพมหานคร หลังจากที่ได้เข้าเรียนและเรียนจบในสถาบัน วิทยาลัยช่างศิลป์ ต่อมาได้เข้าเรียนต่อในคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ชวลิต เสริมปรุงสุข ได้เป็นนักศึกษากลุ่มสุดท้าย ที่มีโอกาสได้เรียน และทำงาน กับอาจารย์ ศิลป์ พีระศรี ก่อนที่ท่านจะเสียชีวิต หลังจากจบจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านได้รับทุนจากกระทรวงวัฒนธรรมของประเทศเนเธอร์แลนด์ ให้ไปศึกษาที่สถาบันRijkskademie van Beeldende Kunsten ในกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ และต่อมาได้เป็นศิลปินที่ได้ทุนอุปถัมภ์ ของรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ ให้เป็นศิลปินที่พำนักอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์อย่างถาวร

ชวลิต เสริมปรุงสุข สมรสกับสุภาพสตรีจากประเทศไทย

คุณภาณี มีทองคำ ซึ่งเป็นบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยศิลปากรเช่นเดียวกัน และได้รับทุนจากรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ มาศึกษาต่อเช่นกัน

ชวลิต เสริมปรุงสุข  เริ่มทำงานศิลปเป็นอาชีพ จากแนวงานที่เรียกว่า ศิลปสัจจนิยม (realism) ต่อมาก็จะเป็นรูปแบบของงานนามธรรม (abstraction)เวลาผ่านไปกว่า 60 ปี ท่านได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญในศิลปะนามธรรม ในรูปแบบศิลปะนามธรรมแบบไทย และศิลปะแบบไม่มีเรื่องราวและไม่มีเนื้อหา

จนกระทั่งมีนิทรรศการเดี่ยว ที่หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร ที่ใช้ชื่อว่า In Amsterdam with Chavalit Soemprungsuk  เวลานั้นท่านตัดสินใจที่จะบริจาคงาน ที่เป็นของสะสม มากกว่า 4000 ชิ้น อาทิเช่น ชิ้นงานศิลปะ หนังสือ ของแต่งบ้าน ของใช้ส่วนตัว รวมทั้งโครงสร้างของอพาร์ตเมนท์ที่สร้างด้วยตนเองที่กรุงอัมสเตอร์ดัมยกให้ก ับรัฐบาลไทย ซึ่งมีเจตนาให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ เพื่อประโยชน์ของคนรุ่นใหม่ ไว้ในการศึกษางานศิลปะ

หลังจากเลิกสะสมสมบัติที่มีอยู่แล้ว ชวลิต เสริมปรุงสุข ได้เตรียมวาระสุดท้ายของชีวิต ในวัย 70 ปี เลิกทำงานชิ้นใหญ่ๆ ทั้งปั้นทั้งวาดมาใช้ดิจิทัลคอมพิวเตอร์ จากปี พ.ศ. 2556-2562 ท่านได้พัฒนาสัดส่วนของงานดิจิทัล เช่นเดียวกับ การทดลองของการพิมพ์งานดิจิทัลที่ใช้หมึกพิมพ์ ที่งานจะออกมาเพียงเพียงครั้งเดียวในสตูดิโอทำงาน ที่เป็นที่ทำงานส่วนตัว เรียกชื่อว่า อัมสเตอร์ดัม เอทลิเยร์


จำนวนงานที่สะสมและทำมายาวนาน ได้มาแสดงในครั้งแรกในเมืองไทย โดยใช้สถานที่จัดงาน 6 แห่ง เรียกชื่อว่า นิทรรศการ '80+' ซึ่งเป็นการฉลอง อายุครบ 80 ปี ของท่านเอง



ต่อไปเป็นการสัมภาษณ์ของดิฉัน ในกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2563

JY. ขอท่านช่วยเล่าการกลับมาแสดงนิทรรศการ ที่จัดทำพร้อมๆกัน ถึง 6 แห่ง ในระยะเวลาเริ่มต้นของ ปีพ.ศ.2563

CS. หลังจากอายุ 70 ปี ผมก็เริ่มเตรียมตัวตาย และจัดการกับทรัพย์สินที่มี รวมถึงบ้านที่สร้างมาด้วยตนเอง ในกรุงอัมสเตอร์ดัม ก็โอนกรรมสิทธิ์ ให้กับกระทรวงวัฒนธรรมไทย เพื่อนำมาจัดงานนิทรรศการที่ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ต่อมาผมไม่มีความประสงค์จะทำชิ้นงานใหญ่ๆอีกต่อไป แต่ผมก็จะไม่หยุดทำงาน ผมเก็บงานทุกอย่างไว้ในคอมพิวเตอร์ส่วนตัว ความตั้งใจจริงของผมคือ ต้องการให้คนที่รักในงานศิลปะ และคนรุ่นใหม่ในประเทศไทย ได้มีโอกาสเห็นงานของผม ซึ่งเป็นศิลปินที่ทำงานให้ทั้งประเทศไทยและประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นเวลาผ่านมา 60 ปี นิทรรศการ '80+'  เป็นงานล่าสุด ทั้ง 6 สถานที่จัดขึ้นของนิทรรศการเดี่ยว เป็นการแสดงนิทรรศการครั้งที่ 5 ในประเทศไทยของผม

JY. กรุณาบอกสถานที่จัดงานในกรุงเทพหน่อยค่ะ



CS. '80+' นิทรรศการศิลปะในประเทศไทยเริ่มขึ้น:

ปลายเดือนพฤศจิกายน 2562 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563
มีสถานที่ต่อไปนี้

บ้านอาจารย์ฝรั่ง ศิลป์ พีระศรี
วันที่ 3-30 พฤศจิกายน 2562

หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน
วันที่ 3-30 พฤศจิกายน 2562

ล้ง1919
16 พฤศจิกายน 2562-10 ธันวาคม 2563

หอธรรมพระบารมี หอศิลป์ร่วมสมัย
14 ธันวาคม 2562 -20 กุมภาพันธ์ 2563

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ( BAAC)
14-26 มกราคม 2563

นำทอง อาร์ต สเปซ
25 มกราคม-15กุมภาพันธ์  2563

JY. ท่านเห็นอะไรกับคนไทยรุ่นใหม่ที่น่าจะมีมิติใหม่ๆในการพัฒนาและเพิ่มความสน ใจในงานศิลปะ

CS. มุมมองงานศิลปะในประเทศไทยยังต่างจากตะวันตกมาก ผมยังบอกไม่ได้ว่าจะมีมิติใหม่ที่พัฒนาจากคนรุ่นใหม่หรือไม่ ผมอาจจะกล่าวว่า การจัดกิจกรรมสำหรับพวกเขาที่จะไปร่วมงานทุกแห่งที่จัดมีการตั้งรางวัลให้มาร ่วมงานทำไปเพื่อความสนุกสนานเท่านั้น   

JY. ขอท่านช่วยเล่าเรื่องส่วนตัวที่ผ่านมา

CS. ชีวิตของผมและภรรยาที่รักกันมามากกว่า 60 ปี รู้จักกัน ตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัยศิลปากร เธอไม่มีทั้งพ่อและแม่ เมื่อวัยเยาว์ และเราได้ย้ายมาอยู่ต่างประเทศเมื่ออายุน้อย อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่เกิดการไม่ยับยั้งระหว่างสองเรา เมื่อเกิดปัญหาเหตุการณ์รุนแรงกับชีวิต ลูกชายของเราเสียชีวิตในกองเพลิงเมื่ออายุได้สองขวบ ซึ่งเป็นบาดแผลสำคัญในครอบครัว

ก่อนหน้านั้น ผมเคยคิดว่าชีวิตไม่มีจุดจบ เพราะมีคุณพ่อที่อายุยืน จนกระทั่งมีเรื่องเศร้าในครอบครัว เวลานั้นลูกชายอยู่กับเพื่อน ที่มาทำหน้าที่ดูแลเด็กและได้เสียชีวิตพร้อมกัน ผมรู้สึกสับสนมาก ถ้าเปรียบเหมือนคุณพ่อของผมที่อายุยืนมาก และเริ่มคิดได้ว่าคนตายได้ทุกวัน คุณอาจจะอยู่ได้วันนี้ พรุ่งนี้อาจจะเป็นวันสุดท้ายของชีวิตก็ได้ ผมเตรียมตัวตายและเตรียมจัดการเรื่องต่างๆจนกระทั่งอายุ 70 ปีและรู้สึกตัวว่าอาจจะตายเร็ว ผมเคยผ่าตัดหัวใจ 2 ครั้ง และเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองซึ่งทำการรักษาอยู๋ ซึ่งมีโอกาสที่จะตายได้มาก แต่ก็ยังมีชีวิตอยู่

หลายๆคนมองผมว่าประสบความสำเร็จมาก ไม่เคยรู้ว่าผมยังมีความเศร้า และได้อยู่ในความทุกข์ที่สุดนั้น เป็นความทรมานใจการเสียลูกไปเป็นความหมดหวังครั้งยิ่งใหญ่ซึ่งไม่สามารถจะ ลืมได้ แต่เราต้องอยู่กับมัน และมันยากมาก

ใช่ละ เรามีงานศิลปะหลังจากลูกเสียชีวิต ผมก็ได้ทำงานหลายๆแบบ และมันก็เกี่ยวกับความเศร้าโศกและเราก็ทำด้วยความรู้สึกในเวลานั้น เราทำงานศิลปะเพราะเราเกิดมาเพื่อทำงานศิลปะ ศิลปะจะขึ้นอยู่กับชีวิตเราในเวลานั้น มันจะออกมาจากใจ
  และคุณจะกลบเกลื่อนมันได้อย่างไร เมื่อลูกคุณเสียชีวิต
คุณจะวาดดอกไม้สวยๆ มันเป็นไปไม่ได้

ศิลปะของผมคือชีวิตเมื่อเราทุกข์ เมื่อเราสุข เราป่วย เราสูญเสีย เราถูกรังแก เราเศร้า มันเป็นบางส่วนของศิลปะในมนุษย์ ไม่ใช่ทุกคนจะเจอแต่ความสุข และไม่ใช่ทุกคน
จะเห็นแต่ดอกไม้และท้องฟ้า ชีวิตคนเป็นเช่นนี้.
 
 

 






 
 
 
 
 




Thank you  :Suchai Pornsirikul




Saturday, April 10, 2021

Bloom : Khum Hom Cafe @Chiangmai


 












































ขอบพระคุณท่านอาจารย์พิชัย นิรันดร์ ศิลปินแห่งชาติที่กรุณามาเป็นประธานฯเปิดนิทรรศการและขอบคุณทุกๆท่านที่มาให้กำลังใจในนิทรรศการครั้งนี้ด้วยครับ วันนี้อากาศดีมากๆ
































อิงอร หอมสุวรรณ์

18.30น.เปิดงานแสดงจิตรกรรมของอจ.2ท่าน
อจ.ศรีใจ กันทะวัง
อจ.อัคร์ชนก ชิระกุล
 ที่คุ้มหอมคาเฟ่
 อจ.พิชัย นิรันด์ศิลปินแห่งชาติเป็นประธานเปิดงานและเปิดร้านกาแฟค่ะ
งานสวยงามทุกชิ้น
สวนสวย
สถานที่งามน่านั่ง
กาแฟและCakeอร่อยมากค่ะ
7 April 2021




















\\

SK: For more than 30 years, as I continued to work with woodcuts and printmaking my works drastically changed. Such works of art are not well known in Thailand because the process is quite complex, more than painting, but my passion in printmaking began from ancient textiles and I want to preserve the imagination of our ancestors which can tell the thinking and creativity on clothing. Then I study the patterns from various items in Buddhism. This will show the way of nature and faith of people and the pilgrimage journey to the Maha Chedi (the great pagoda) on the high mountain. I use elephants as symbols to travel uphill. Flowers fall down to congratulate the act of merit. Trees and flowers are symbols of strength and beauty. There are some fish in the water to show the abundance of natural resources. Turtles stand for the longevity of age. From the same period. I use a big peacock to illustrate as a sign of observing present events from the beauty of colors, figures and their eyes .

 

A. Srijai Kuntawang & A. Prasong Luemuang

 


S4-cr

ศรีใจ: มากกว่าสามสิบปีแล้วที่ผมทำงานกับพิมพ์แกะไม้และภาพพิมพ์งานของผมก็
เปลี่ยนไปมาก งานศิลปะประเภทนี้ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในประเทศไทยเพราะว่า
ขั้นตอนมีความซับซ้อนมากกว่าการเขียนภาพ แต่ความชอบในการทำภาพพิมพ์
ของผมเริ่มมาจากลายทอผ้าโบราณ และผมอยากจะรักษาจินตนาการของ
บรรพบุรุษซึ่งสามารถจะบอกถึงการคิดและการสร้างสรรค์ในเรื่องเสื้อผ้า จากนั้นผม
ศึกษาลวดลายจากวัตถุหลายสิ่งในพระพุทธศาสนา สิ่งนี้แสดงถึงวิถีธรรมชาติ
ความเชื่อของคนและการเดินทางแสวงบุญไปยังมหาเจดีย์บนภูเขาสูง ผมใช้ช้าง
เป็นสัญลักษณ์ของการเดินทางขึ้นเขา ดอกไม้ร่วงหล่นลงมาเป็นการแสดงความ
ยินดีในการทำความดี ต้นไม้และดอกไม้เป็นสัญลักษณ์แทนความแข็งแกร่งและ
ความงดงาม มีปลาในน้ำแสดงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ เต่าแสดงถึงชีวิตที่
ยืนยาว ในช่วงเดียวกันนั้นผมใช้นกยูงตัวใหญ่เป็นสัญลักษณ์ของผู้สังเกตการณ์ใน
ปัจจุบันจากความสวยงามของสีสัน รูปร่างลักษณะและดวงตาที่สื่อความหมายใน
การเฝ้ามอง ระแวดระวัง

Srijai-cr

SK: Printmaking is one of the visual arts that is not common in Thailand but it has an important role in many countries such as Japan, Europe and America. The problem is that the technique is high in cost because of the equipment. The process is repetitive but only one picture is made from a wood block print. I try to teach some students about woodcut in a relief process. This is the same as linocut. Printmaking from wood is more durable than the linocut. We can select the type of wood. In Thailand, the wood to make prints comes from masonite and plywood. The size is large enough, very dense and cheap in cost. When we cut the image it will be sharp enough for printing. We use offset ink from oil colors which is very bright. In Japan, they use water color. Other essential tools are rollers and barens. We can rub the back of paper using a hand-made baren that fits the palm of the hand. The oil to remove the ink must be carefully selected according to safety and availability.

 

 

S6-cr


ศรีใจ: งานภาพพิมพ์เป็นหนึ่งในงานทัศนศิลป์ที่พบได้ไม่บ่อยในประเทศไทยแต่มี
บทบาทสำคัญในหลายๆ ประเทศเช่นญี่ปุ่น ยุโรปและอเมริกา ปัญหาคือว่าเทคนิค
มีค่าใช้จ่ายสูงเนื่องจากอุปกรณ์ ขั้นตอนการทำซ้ำไปมาแต่มีเพียงภาพเดียวเท่านั้น
ที่สมบูรณ์ จากที่ทำมาจากแม่พิมพ์แกะไม้

ผมพยายามสอนนักศึกษาเรื่องการแกะไม้แบบแม่พิมพ์นูนซึ่งเป็นแบบเดียวกันกับ
แม่พิมพ์แกะจากยาง การทำภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์ไม้นั้นมีความทนทานกว่า
แม่พิมพ์ที่ทำจากยาง เราสามารถเลือกประเภทของไม้ได้ ในประเทศไทยไม้ที่
เอาไว้ทำภาพพิมพ์มาจากกระดานไฟเบอร์และไม้อัด เพราะขนาดใหญ่พอมีความ
แน่นมากและมีราคาถูก ถ้าเราตัดภาพออกมาก็จะมีความคมชัดพอสำหรับการพิมพ์
เราใช้หมึกพิมพ์ออฟเซตจากสีน้ำมันซึ่งมีความแวววาว มาก ในประเทศญี่ปุ่นจะใช้
สีน้ำ อุปกรณ์ที่จำเป็นอีกอย่างหนึ่งคือลูกกลิ้งและไม้สำหรับถูกระดาษ เราสามารถ
ถูด้านหลังกระดาษด้วยแท่งไม้ที่ทำขึ้นมาเองได้ซึ่งมีขนาดพอดีกับฝ่ามือของเรา
น้ำมันสำหรับลบสีจะต้องเลือกอย่างระมัดระวังตามความปลอดภัยและเราสามารถ
หามาใช้ได้ 
 
 













     Eng-on Homsuwan  & Pichai Nirand : National Artist








Srijai Kuntawong and His Exhibition @ Khum Hom Cafe

Arcylic on canvas Paintings 
 
 
7  April 2021-31 May 2021
 






Today I saw an example which is the movement that is changing your work as well as the ideas  you to present to the public. This is a great chance to study your  Acylic on Canvas paintings. Everything is ready to show to the public. In my view, not only does your work tell us about ancient art, bur your works are also very systematic. This is a progress that is beautiful and active.










 
วันนี้ดิฉันเห็นตัวอย่างซึ่งจะเป็นความเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนแปลงงานของคุณ
และแนวคิดต่างๆ Acylic on Canvas paintings ที่คุณนำเสนอให้กับผู้เข้าชม นี่เป็นโอกาสอันดีที่จะทำให้ผู้สนใจ
เรียนรู้ในการ วาดภาพเพื่อสร้างความเข้าใจในขั้นตอนการทำงาน  ในความคิด
ของดิฉัน งานของคุณไม่ได้บอกเราเกี่ยวกับศิลปะโบราณเท่านั้น แต่งานของคุณ
ยังมีความเป็นระบบอีกด้วย นี่เป็นความก้าวหน้าที่งดงามและไม่หยุดอยู่กับที่.



 
 
























































Eng-on Homsuwan











temp song