Friday, June 28, 2019

สวนแก้ว & มหาวิทยาลัยศิลปากร : Suan Kaew Silpakorn University









Silpakorn University was originally established as the School of Fine Arts under Thailand's Fine Arts Department in 1933. The school offered the only painting and sculpture programs and waived tuition fees for government officials and students. Its creation owes much to the almost lifetime devotion of Professor Silpa Bhirasri, an Italian sculptor (formerly Corrado Feroci) who was commissioned during the reign of King Rama VI to work in the Fine Arts Department. 






He subsequently enlarged his classes to include greater members of the interested public before setting up the School of Fine Arts. The school gradually developed and was officially accorded a new status and named Silpakorn University on 12 October 1943. Its inaugural faculty was the Faculty of Painting and Sculpture. In 1955, the Faculty of Thai Architecture was established, later named the Faculty of Architecture) and two more faculties were created, the Faculty of Archaeology and the Faculty of Decorative Arts.

In 1966, Silpakorn University diversified the four faculties into sub–specializations to broaden its offerings, but the university's Wang Tha Phra campus proved inadequate. A new campus, Sanam Chandra Palace, was established in Nakhon Pathom Province in the former residential compound of King Rama VI. The first two faculties based on this campus were the Faculty of Arts in 1968 and the Faculty of Education in 1970. Later, three more faculties were created: the Faculty of Science in 1972, the Faculty of Pharmacy in 1986, and the Faculty of Engineering and Industrial Technology in 1992. In 1999, the Faculty of Music was created.

In 1997, Silpakorn extended its reach by establishing a new campus in Phetchaburi Province. The new campus was named "Phetchaburi Information Technology Campus". In 2001 and 2002, the Faculty of Animal Sciences and Agricultural Technology and the Faculty of Management Science were established on the Phetchaburi Campus. In 2003, the Faculty of Information and Communication Technology (ICT) was established, as well as Silpakorn University International College (SUIC). Its role is to provide an international curriculum in additional fields of study.




               สวนแก้ว มหาวิทยาลัยศิลปากร สวนปลูกต้นแก้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงพระกรุณาฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ศิลปะกลางแจ้ง มหาวิทยาลัยศิลปากร วันพุธที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 สวนแก้ว สวนประติมากรรม และ สวนสาธารณะพระบรมมหาราชวัง, พระนคร





วิทยาเขต วังท่าพระ
ประวัติความเป็นมา
ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน ตรงข้ามพระบรมมหาราชวังและท่าช้าง มีพื้นที่ประมาณ 8 ไร่ เดิมเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นวิทยาเขตแรกและจุดกำเนิดของมหาวิทยาลัย เป็นที่ตั้งของคณะต่างๆดังนี้

คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์(ชั้นปีที่2-5)
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์(ชั้นปีที่ 1-5)
คณะโบราณคดี(ชั้นปีที่2-4)
คณะมัณฑนศิลป์(ชั้นปีที่2-4)

สิ่งอำนวยความสะดวก
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ตั้งอยู่ที่วังท่าพระเป็นสถาบันเพื่อการ ส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปะร่วมสมัย ก่อตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ 2522 และได้ใช้กลุ่มอาคาร อนุรักษ์ในบริเวณวังท่าพระ เป็นสถานที่ทำการ

วังท่าพระเดิมคือ วังตะวันตก ในถนนหน้าพระลานที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างและพระราชทานให้แก่ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้า กรมขุนกษัตรานุชิต เป็นที่ประทับในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทาน วังท่าพระ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรม พระยานริศรานุวัดติวงศ์ และทรงโปรดให้ซ่อมแซม และก่อสร้างเป็นรูปแบบดังที่ปรากฏในปัจจุบัน

ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนท้องพระโรง - ตำหนักกลาง และตำหนักพรรณราย มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ปรับปรุงเป็นห้องแสดงนิทรรศการและสำนักงานเมื่อก่อตั้งหอศิลป์ขึ้น หอศิลป์ได้ดำเนินการ จัดนิทรรศการศิลปะอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ได้แก่ การแสดงศิลปกรรมแห่ง ชาติ การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์การแสดงศิลปะเครื่องปั้นดินเผาแห่งชาติ ซึ่งเป็นการ แสดงศิลปะที่มีความสำคัญ และจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เช่นเดียวกับการจัดแสดงผลงานของคณาจารย์ ตลอดจนผลงานวิทยานิพนธ์ และศิลปะนิพนธ์ของ นักศึกษาคณะวิชาทางศิลปะและการออกแบบ

นอกจากนั้นหอศิลป์ยังร่วมมือกับศิลปินไทย และศิลปินต่างประเทศ ซึ่งได้รับการสนับสนุน จากสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศและภาคเอกชน จัดแสดงนิทรรศการประเภทต่างๆ อีกด้วย นอกเหนือจากการจัดนิทรรศการแล้ว หอศิลป์ยังทำกิจกรรม ด้านการเผยแพร่ความรู้ด้านศิลปะร่วมสมัย ได้แก่ การอบรมศิลปะ การผลิตหนังสือสิ่งพิมพ์ และ CD-ROM ทางศิลปะและวัฒนธรรมการวิจัย และศูนย์ ข้อมูลทางด้านศิลปะ




 



 รูปปั้น "ขลุ่ยทิพย์" อ.เขียน ยิ้มศิริ ขลุ่ยทิพย์ พ.ศ. 2492 สำริด 
 55x38 CM.









 ประติมากรรม “คิด” (Preoccupation) โดย ศ.ชลูด นิ่มเสมอ พ.ศ.2497


อาทิ  งานชิ้นเอกของศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ (พ.ศ.๒๔๗๒ - ๒๕๕๘)  ผู้เป็นผลผลิตท่านหนึ่งของสถาบันศิลปะเก่าแก่แห่งนี้ และเคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ ท่านสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอันทรงคุณค่าไว้มากมาย จนได้รับรางวัลเหรียญทอง เหรียญเงินและเหรียญทองแดงทั้งในและต่างประเทศ ถึง ๑๓ รางวัล และได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๑ 


มหาวิทยาลัยศิลปากร (อังกฤษ: Silpakorn University; อักษรย่อ: มศก. – SU เป็นมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งแรกของประเทศไทย และเป็น มหาวิทยาลัยแห่งที่ห้าของประเทศไทย มีชื่อเสียงทางด้านศิลปะและการออกแบบ ปัจจุบันเปิดสอนครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งกลุ่มสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัยสากลอย่างสมบูรณ์

มหาวิทยาลัยศิลปากร ถือกำเนิดจาก "โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัด กรมศิลปากร" ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนเป็น "โรงเรียนศิลปากร" และเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) ร่วมกับ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี พัฒนาหลักสูตรจนได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยศิลปากร" เพื่อเป็นสถาบันอุดมศึกษาขั้นสูงทางศิลปะของชาติ โดยมีปณิธานที่จะสร้างสรรค์ศิลปะ วิทยาการ และภูมิปัญญาเพื่อสังคม มีผลให้งานศิลปะของชาติพัฒนาและก้าวหน้า มีกิจกรรมและวิชาการต่าง ๆ ที่ดำเนินการเอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนเสมอมา























Misiem Yipinsoi (1906-1988)










































CR. Suchai Pornsirikul 












 

อ.เขียน ยิ้มศิริ





















อ.เขียน ยิ้มศิริ














Cr. All Thumb

No comments:

Post a Comment

temp song