Silpa Bhirasri’s House
Italian artist Corrado Feroci (Silpa Bhirasri)
was the founder of Silpakorn University
and is regarded as the father of
Thai Contemporary Art .
บ้านอาจารย์ศิลป์ พีระศรี
ศิลปินชาวอิตาเลียนคอราโด้ เฟโรซี่ (ศิลป์ พีระศรี) เป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย
ศิลปากรและได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของประเทศไทย
Janine Yasovant MPA. Writer
His Italian name was Corrado Feroci (15 September 1892 – 14 May 1962) but most Thai people knew him as Professor Silpa Bhirasri. Apart from lecturing students, he also devoted his time to studying Thai Art and laid the foundation for it along with many other types of art in the curriculum. Many older alumni from SilpakornUniversity, who used to study under the tutelage of Silpa Bhirasri, developed a deep bond between teacher and students. He encouraged all his students to push themselves forward to be great artists and work hard. Furthermore, later generations of Silpakorn students also respected him no less than their predecessors who were the direct students of Silpa Bhirasri. To me, it is not exaggerated to say that all art students and art lovers in Thailand revere him as a role model. There was a simple phrase he gave to his students during his last birthday party (15 September 1961). This Thai phrase was translated in English as: “You… If I die, you miss me… You love me… you don’t have to do anything… You work…”
ชื่อภาษาอิตาเลียนของท่านคือคอราโด้ เฟโรซี่ (15 กันยายน พ.ศ. 2435 –14 เมษายน พ.ศ. 2505) แต่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักท่านอาจารย์ศิลป์ในนามของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี นอกเหนือไปจากการสอนหนังสือให้กับนักศึกษาแล้ว ท่านอาจารย์ศิลป์ยังอุทิศเวลาให้กับการศึกษาศิลปะไทยและวางรากฐานเอาไว้พร้อมกับศิลปะแขนงอื่นๆ ที่มีในหลักสูตร ศิษย์เก่าที่มาจากมหาวิทยาลัยศิลปากรที่เคยได้รับการสอนสั่งจากท่านอาจารย์ศิลป์ พีระศรีนั้นได้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์และอาจารย์ที่ลึกซึ้ง ท่านอาจารย์ศิลป์ได้กระตุ้นให้นักศึกษาทุกคนผลักดันตนเองให้เป็นศิลปินที่ยอดเยี่ยมและทำงานหนัก นอกเหนือไปจากนี้นักศึกษารุ่นหลังของมหาวิทยาลัยศิลปากรนั้นยังให้ความเคารพต่อท่านอาจารย์ศิลป์ไม่น้อยไปกว่านักศึกษารุ่นก่อนหน้าที่เป็นศิษย์ของท่านอาจารย์ศิลป์โดยตรง สำหรับดิฉันแล้วคงไม่ได้เป็นการกล่าวเกินจริงว่านักศึกษาศิลปะและผู้รักในงานศิลปะในประเทศไทยทุกคนเคารพท่านอาจารย์ศิลป์เป็นแบบอย่าง มีคำกล่าวง่ายๆ ที่ท่านได้มอบให้กับนักศึกษาในงานเลี้ยงฉลองวันเกิดครั้งสุดท้าย (15 กันยายน พ.ศ. 2504) ประโยคนี้เป็นภาษาไทยมีใจความว่า “นาย... ถ้าฉันตาย นายคิดถึงฉัน... นายรักฉัน... นาย
ไม่ต้องทำอะไร... นายทำงาน...”
##เป็นอีกนิทรรศการที่น่าสนใจเปิดพรุ่งนี้ค่ะ##
“งานแสดงศิลปะครั้งแรกในรอบ 10 ปี ของ “พี่ตุ๊” อดุลย์พันธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา และครอบครัว”
นิทรรศการศิลปะ “ผู้เป็นที่รัก: Unconditionally” ถ่ายทอดเรื่องราวความรัก ความผูกพัน ของศิลปินทั้งห้าผ่านผลงานศิลปะ ภายใต้บรรยากาศอันแสนอบอุ่นและเปี่ยมไปด้วยมนต์ขลังของบ้านอาจารย์ฝรั่ง (ศิลป
พีระศรี) อย่างไรก็ตามแม้ว่าในวันนี้พี่ตุ๊จะไม่อยู่แล้ว แต่นิทรรศการในครั้งนี้ก็สามารถทำหน้าที่เป็นเครื่องพิสูจน์ชั้นยอดถึงความรักความอบอุ่นที่คนในครอบครัวส่งถึงกัน กระทั่งล้นเหลือมาสู่ผู้ชม ให้ตระหนักถึงบทบาทและการดำรงอยู่ของ “ศิลปะ” ที่เกี่ยวโยงกับชีวิต อีกทั้งยังชวนให้หวนระลึกถึงความรักในหลากมิติและเวลา ไม่ว่าจะเป็นความรักในศิลปะหรือความรักที่มีต่อคนในครอบครัว จนสามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่า “ความรัก” และ “ความคิดถึง” นั้นอยู่ใกล้กันแค่เพียงนิดเดียว
ขอเชิญร่วมพิธีเปิดนิทรรศการศิลปะ “ผู้เป็นที่รัก: Unconditionally”
ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เวลา 18:00 น. ณ บ้านอาจารย์ฝรั่ง (ศิลป พีระศรี)
โดย Art Theory 12 (นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ รุ่นที่ 12)
- ลงทะเบียน 16:00 น.
- พูดคุยกับครอบครัว อิศรางกูร ณ อยุธยา 16:30 น.
- พิธีเปิด 18:00 น
Chatchanok Dulyarat
President : Baan Ajarn Farang
คุณฉัตรชนก ดุลยรัตน์ : ประธานบริหารบ้านอาจารย์ฝรั่ง
Chatchanok Dulyarat is with Theerarak Phibulsiri and Nartladda Ploysuwan at บ้านอาจารย์ฝรั่งศิลป์ พีระศรี.
No comments:
Post a Comment