Janine Yasovant : writer
An exhibition tribute to His Majesty King Bhumibol Adulyadej of Thailand's 60th anniversary of his accession to the throne on June 9, 2006. People came to visit the grand exhibition in Impact Arena Muangthong Thani Bangkok.. A huge tagline attracted people to the King's expo: "…and you will love and respect His Majesty the King even more."
The grand exhibition had three parts: Part One with exhibits of royal activities and royal-initiated projects featuring His Majesty the King's photographic works over the past 60 years, the development of forest resources, the royal philosophy in water resource management, soil problems and solution to degraded soil resources, and sufficiency economy and the New Theory; Part Two, the royal biography; Part Three, the grand stage performance at the Impact Arena.
The Phra Mahachanok grand musical played from May 26 through June 11. The spectacular performance was inspired by the story of Lord Buddha's previous lives. It focused on the virtue of perseverance as a guideline for sustainable development through the use of Dhamma riddles. The entire surface of the arena was transformed into an ocean using modern light and sound techniques.
The music was composed and directed by Mr. Bruce Gaston, a composer from California who resides in Thailand. He had penned 65 minutes of accompanying music. Assistant Professor Dr Narapong Charassri was the art director and choreographer, and Komol Panichaphan designed the costumes. Artistic movements applied from the west were inserted in the performance many times. Imagine a fantasyland! Light and sound with. 400 men from the Thai army pretending to be ocean waves, with 3,000 meters of special woven fabric, special wires ordered from France, and light and sound techniques from Japan.
The Phra Mahachanok grand musical was one of the highlights of this exhibition. The audiences did not need to pay for the tickets. It was free for everyone. But if they wanted to reserve seats, they had to pay 100 Baht ($2.50 USD) for one person. The income will be transferred as a donation for HM's projects.
Assistant Professor Punnasak Sukee was the show's director and scriptwriter he said to me about his work.
"Yes, we are now working hard with pure perseverance just like Phra Mahachanok who swam 7 days 7 nights relentlessly. Now it seems we have to endure in the ocean longer since the Thai Government announce the extension of the exhibition for one more week, and of course, our show is a highlight. Hope you can come and see our show. You have to see with your own eyes how people have tears in their eyes when they learn that the tickets are sold out. It is their love for our King that brings them here."
JSL executive vice president Pusacha Donavanik said at a press conference "We're trying our utmost to pass on all the doctrines incorporated in the literary version. But actually it's hard to tell the whole story in a 45-minute show," she said.
The two main themes of the story were selected for the stage performance. One is Phra Mahachanok's persistent attempts to swim across the ocean, and the other is Phra Mahachanok watching people in his own town struggling madly with a mango tree and then debating whether he will be ordained.
The performance was divided into nine acts, beginning with a scene portraying the gigantic vessel of Phra Mahachanok departing port for the open ocean before being sunk by a storm. "The entire surface of the arena will be transformed into an ocean using modern light and sound techniques," said Pusacha. "The audience will be stunned."
"It's a hard and impressive scene for me," said TV stars Assadawut Loengsoonthorn, who stars as Phra Mahachanok. "I have to have trust these hands below me won't let me fall."
Act 1: Departing from a port from 700 leagues:
Phra Mahachanok travels across ocean to the city of Mithila by a gigantic ship. At that time, the storm and tidal waves wrecked the ship. All people drown in the vast ocean and they become the food for fish and turtles except Phra Mahachanok . He stood up, holding onto the mainmast climbed the mainmast hold his conscience, jumped into the ocean and continue to swim. He aimed the direction of Mithila and jump forward off the mast, exerting his great strength to clear a school of fish and turtle
From the moment on, Phra Mahachanok was like a golden banana tree trunk in the waves which had the colour of ruby, swimming in the ocean by the might of his shoulders. A scene portraying the gigantic ship of Phra Mahachanok departing from the port to the vast ocean before it was sunk by the storm.
In the holy Tripitaka the seven individuals in the water (Udakupamasutta) are:
1. The one who plunges in the water and does not emerge is the one who is wholly wicked and evil (The sinner)
2. The one who emerges and sink again is the one who has had a glimpse of faith in wisdom but that faith wanes (The ordinary man)
3. The one who emerges and stays afloat is the one who has fait and keeps it (The virtuous man)
4. The one who emerges, has faith, and looks around is the Sotapanna (The Stream-Winner –the one who enters the stream of Enlightenment)
5. The one who emerges, looks around, and begin to swim toward the shore is the Sakadagami (The Once Returner-the one who will return to this World but once).
6. The one who emerges and comes to the shallow water where he can touch the bottom with his feet is the Anagami (The Non-Returner- the one who will not return to this world)
7. The one who emerges and reaches the firm land and treads the high ground is the Arahat ( The Worthy One – the one who has freed himself of all bondage with mind-emancipation and wisdom-emancipation)
Act 2: The attempt:
Phra Mahachanok swam in the ocean for 7 days and 7 nights. The giant crab helped him from drowning into the ocean.
"…Things that we do not plan may well happen. Things that we do plan may well meet with disaster. Wealth will not come to anybody by just dreaming about it."
After jumping from the top of the mast into the sea he felt like treading on the sea floor, like being near the shore, the same feeling as the sixth individual among the seven Individuals . In fact, it was the giant sea crab came to help him
The believed from the great merit of his perseverance
The 400 men from Thai army performed as water which Phra Mahachanok floats upon.
Act 3: Mani Makhala:
Thai mythological angel in literature who controls weather. When groups of angels have a party in the celestial society. Mani Makhala look at the ocean below upon inspection and saw Phra Mahachanok who was swimming with the great attempt and endurance in the ocean.
At that time , The Four world watchers had entrusted a goddess named Mani
Mekhala to look after all virtuous creatures who did good deeds, such as taking good care of their mother, and who should not die at the sea
Mani Mekhala had not inspected the seas for seven days. It was said that She was absorbed with celestial joys, so she forgot her inspection duties. Other academics say that goddess went to the Celestials' Society.
Anyway, she recalled": Today is the seventh day that I have not inspected
the high seas. I wonder what the situation is upon inspection, she saw Phra Mahachanok perish in the ocean, I'll never be allowed in the Celestials 'Society any more"
Having so pondered, she adorned herself and went to hover not far from him.
To test The Great being, she intoned the first stanza:
"Who's that even the coast is nowhere to be seen, is still swimming in the midst of ocean waves? What mighty use do you see in striving to swim in this manner?"
Act 4: In the ocean:
The angel Mani Mekhala tested Phra Mahachanok about the great intention and attempt. Although Phra Mahachanok couldn't see the shore but he will continue to swim.
Then the great being opined" To this morning we have been swimming the ocean for 7 days .All the time we have been nary a sual as companion. Now who is that speaking to me..?"
"Oh...Goddess, we have reflected upon the worldly behavior and merits of perseverance .Thus we conclude that, even though we do not see the shores, we still have to persist in our swimming in the wide ocean."
Mani Mekhala desiring to hear a further discourse from the great being, intoned another stanza
"The coast of the unfathomable ocean is assuredly not visible to you. Your heroic effort are thus of no avail; you will be dead before you reach a shore"
Upon these remarks, The Great being told Mani Mekhala
"What are you saying?? We are persevering, so that though we may perish, we shall be free from any blame or criticism." Having said that he intoned this stanza:
"Any individual who practices perseverance, even in the face of death, will not be in any debt to relative or gods or father or mother. Furthermore, any individual who does his duty like a man will enjoy Ultimate Peace in the future."
At this point, the goddess addressed the Great being with this stanza:
Any enterprise that is not achieved through perseverance is fruitless; obstacles will occur. When any enterprise undertaken with such misdirected effort result in Death showing his face, what is the use of such enterprise and misdirected effort?
After Mani Mekhala had spoken in this manner, the Great being in order to convince the goddess completely, in toned the next stanza thus:
"Oh Goddess ! Any one who knows for sure that his activities will not meet with success, can be deemed; if that one desisted from perseverance in that way, he will surely receive the consequence of his indolence".
"Ohh Goddess! Some people in this world strive to get result for their endeavors even if they don't succeed."
"Oh Goddess! Do you see clearly the result of actions, don't you?? All the others have drowned in the ocean; we alone, are still swimming and have seen you hovering near us. As for us, we are going to endeavor further to
the utmost of our ability; we are going to strive like a man should to reach
the shores of the ocean".
Having listened to the Great being convincing oration and praise the Great being, the goddess intoned the stanza:
Any one who is full of righteous patience will never founder in the vast ocean
That has no bounds. With this manly perseverance, you will be able to go wherever you wish.
After these words, Mani Mekhala asked "Oh wise one .., who has such determination, where could I take you"? When the great being said Mithila Nagara, she pick up the Great being as lightly as one would pick a bunch of flowers. She cradled him to her breast with her arms like one would one's dear child, flying up in the air
This scene use wires from France and safety specialist took care of the protection from accident. .
Act 5: The city of Mithila:
There is no king in the city of Mithila because the king Polchanok passed away. The prophet of Mithila city release the Grand chariot (Pussaros) for fortune telling. This Grand Chariot stopped at Phra Mahachanok who slept in the royal garden. Then he ascended to the throne of Mithila. Phra Mahachanok had followed the "Tossapitrajadhamm" (10 virtues of the king) for all his lifetime. People live happily ever after.
Act 6: Pathways
Phra Mahachanok was riding on the neck of the royal elephant, left the city with a long retinue, and arrived at the Park.
Near the gate, there were two mango trees with resplendent green foliage. One of these had no fruit; the other had many. The fruit was extremely sweet.
Nobody could pick the fruit from the tree because the King had not yet eaten the tasty fruit. Seated on the next of the elephant, The Great being picked one fruit and test it. As it touched the tip of the Great being's tongue the fruit seemed like nectar.
The Great being thought "We shall eat our fill on the way back" and entered the Royal Park.
The other, from the Viceroy to the elephant mahouts and the horse handlers, seeing that the King had already eaten the tasty fruit, all picked some and had their fill.
Still others who came in later, used stick to break down branches; the tree was denuded of leaves; the tree was uprooted. The other mango three still stood majestically as a mountain glistening like gem.
The King came out of the Royal park; seeing this spectacle, he asked the courtiers: "What is all this?"
The courtiers said "The people, knowing That Your Majesty had already eaten
The succulent fruit, fought among themselves to get a bit of that mango fruit."
The King asked: "The foliage and resplendence of this tree are all gone, but the foliage and resplendence of that yon tree are still intact. How is it so?"
All the courtiers said: "The foliage and the resplendence of the other tree are not all gone because it bears no fruit"
The King, on hearing thus, felt very sad. He mused: "That tree is still beautifully green, because it has no fruit, but this tree has been cut down and uprooted because it bore fruits.
This throne is like the tree with fruits; peaceful retirement is like the tree without fruits. Danger lurks around the one with worries and does not menace the one without worries. We will not be like the tree with fruits; we will be like the one without fruit."
The King returned to the city and went to palace. At the door of the palace, he paused for an instant and thought about what Goddess Mani Mekhala had told him at the moment she picked him up from the sea.
The King could not remember the exact words, for he was exhausted and drowsy from the seven-day swimming in the briny water, but he knew that she had said he would not find the path to absolute happiness without sharing the wisdom he had found in the ocean.
Act 7: The restoration of mango tree.
Phra Mahachanok gave nine methods on how to cure the fallen mango tree. All people followed these precious instructions. That mango tree came back to life once again!
1. Culturing the seeds
2. Nursing the roots
3. Culturing the cuttings
4. Grafting
5. Bud-grafting
6. Splicing the branches
7. Layering the branches
8. Smoking the fruitless tree
9. Culturing the cells
Act 8: The founding of Pudalay Mahavijalaya (name of a knowledge institute):
The King told Brahmin about his past life on the sea
After jumping from the top of the mast into the sea beyond the fish and turtles, He swam in the ocean and rested from time to time, Sometimes we felt like treading on the sea floor, like being near the shore, the same feeling as the sixth individual among the seven individuals (in the fifth Udaku pamasutta) In fact, it was" the Grant sea crab" The Brahmin said "Really that was the great merit of you: perseverance"
Mani Mekhala had told him to establish an institute of high learning Called Pudalay Mahavijjalaya. Once he had fulfilled this mission, he could find the path to peaceful retirement. Pudalay is a Thai word that means Sea crab. The Great being thought "Each one, may be a trader, A farmer, a King or priest, , has his duty to do Any way before any thing else ,
As Goddess Mani Mekhala picked us from the sea, she said "Thou shouldst
Share with others the boon of enlightened wisdom. When time comes thou shouldst establish an institute of high learning." At that time we were exhausted and daze; so we thought we heard Suvanabhumic language.
Phra Mahachanok said that People live in the world of confusion and lack of specific knowledge, common knowledge, or even self benefits People like mangoes but they destroy the good mango tree. It was the right time to call the knowledge institute "Pudalay Mahavijalaya" to educate people away from the ignorant Giant sea crab, who came to keep him alive.
Act 9: Epilogue
All people, Mani Makhala and other angels praised the true virtues of Phra Mahachanok then he decided to take the path of absolute happiness.
The spectacular performance has been adapted from "Mahajanaka," the latest literary work by HM the King Bhumibol Adulyadej of Thailand. Inspired by the story of one of the Lord Buddha's previous lives. It focuses on the virtue of perseverance as a guideline for sustainable development through the use of Dhamma riddles.
The book was published in the celebration of 50th anniversary of accession to the throne of His Majesty. The magnificent vision in his writing about the attempt of a man who couldn't know the future when the ship was sunk or when he desperately saw his people destroy the mango tree and quarrel until he wanted to be ordained. Then he thought about the conversation with Mani Mekhala that now he could not take the path of absolute happiness. He thought that all people should do their duties first. So he still stood beside his people in Mithila city and solved the problems and conflicts.
The restoration of the mango tree concept is one of the restoration plans against deforestation in Thailand of His Majesty. He cares for more than 3,000 projects around the country. Many projects are created to solve agricultural problems. His teaching is embodied in the institute called, "Pudalay Mahavijalaya." This is a university for people with knowledge or experience. It was established for all people to focus on life with nature and use that knowledge for the benefit of all people.
His Majesty's literary work, Mahajanaka, was written from 1977 to 1988
It took nearly eight years for the country's leading artists to illustrate the book. It was published and sold in 1996 during the King's Golden Jubilee
This year 2006, is the Diamond jubilee of the King, who was honored by the United Nations with a lifetime achievement award for his development projects that tackle social problems. In addition to the UNDP Human Development Lifetime Achievement Award, he previously received several awards from other UN organizations: the World Health Organization's "Health-for-All Gold Medal" in 1992 and the Food and Agriculture Organization's Agricola Medal in 1995.
จานีน ยโสวันต์
นิทรรศการเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล
อดุลยเดชของประเทศไทย เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองการครองศิริราชสมบัติครบ
60 ปีของพระองค์ท่านในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ผู้คนได้มาเยี่ยมชมงาน
นิทรรศการอันยิ่งใหญ่ที่จัดขึ้นที่อิมแพค อารีนา เมืองทองธานี กรุงเทพมหานคร
ข้อความจากป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ดึงดูดให้ประชาชนไปเยี่ยมชมงานนิทรรศการ
เขียนไว้มีใจความว่า"... แล้วคุณจะรักและเคารพพระองค์ท่าน..มากกว่าเดิม"
งานนิทรรศการครั้งนี้ประกอบไปด้วย 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นกิจกรรมต่างๆและ
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีภาพถ่ายฝี
พระหัตถ์ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา การพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ ปรัชญาในการ
บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ปัญหาเรื่องดินและวิธีการแก้ไข เศรษฐกิจพอเพียงและ
ทฤษฎีใหม่ ส่วนที่สองคือพระราชประวัติ ส่วนที่สามคือเวทีการแสดงขนาดใหญ่
ที่อิมแพค อารีนา
มหานาฏกรรมเฉลิมพระเกียรติ พระมหาชนก นั้นเริ่มแสดงตั้งแต่วันที่
26 พฤษภาคม – 11 มิถุนายน 2549 การแสดงอันน่าตื่นตาตื่นใจนี้ได้รับแรง
บันดาลใจมาจากชาดกที่บ่งบอกประวัติชาติก่อนๆ ของพระพุทธเจ้า ซึ่งเน้นในเรื่อง
คุณธรรมในเรื่องความพากเพียรเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยการ
บอกเล่าผ่านปริศนาธรรม พื้นที่ทั้งหมดของอารีนาถูกปรับเปลี่ยนเป็นมหาสมุทรโดย
ใช้เทคนิคแสงและเสียงอันทันสมัย
บทเพลงได้รับการเรียบเรียงและกำกับโดยคุณ บรู๊ซ แกสตัน นักประพันธ์เพลงจาก
แคลิฟอร์เนียผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศไทย เขาได้เขียนบทเพลงประกอบเป็นเวลา
65 นาที ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ นราพงษ์ จรัสศรีเป็นผู้กำกับศิลป์และท่าเต้น
และโกมล พานิชพันธุ์ ออกแบบเครื่องแต่งกาย การร่ายรำที่ประยุกต์มาจาก
ตะวันตกได้นำเข้ามาใช้หลายครั้ง ลองจินตนาการถึงดินแดนมหัศจรรย์ มีแสงและ
เสียง
ทหาร400 คนจากกองทัพไทยแสดงเป็นคลื่นในมหาสมุทร มีผ้าที่ถักทอเป็นพิเศษ
กว่า 3,000 เมตร สายสลิงพิเศษที่สั่งมาจากฝรั่งเศส และเทคนิคแสงและเสียงจาก
ญี่ปุ่น
มหานาฏกรรมเฉลิมพระเกียรติพระมหาชนก เป็นหนึ่งในไฮไลท์ของงานนิทรรศการ
ครั้งนี้ ผู้ชมไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินค่าตั๋วเข้าชม ทุกคนเข้าชมฟรี แต่ถ้าต้องการจองที่
นั่งก็ต้องชำระเงิน 100 บาท สำหรับ 1ท่าน รายได้ทั้งหมดจะถูกส่งมอบให้กับ
โครงการต่างๆของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรรณศักดิ์ สุขีเป็นผู้กำกับการแสดงและเป็นผู้เขียนบท เขาได้
กล่าวถึงงานของเขา กับดิฉันว่า
"เรากำลังทำงานหนักด้วยความพากเพียรเช่นเดียวกับพระมหาชนกผู้ซึ่งว่ายน้ำเป็น
เวลา7 วัน7 คืนดูเหมือนว่าพวกเราต้องอยู่ในมหาสมุทรต่อไปเพราะรัฐบาลไทยได้
ประกาศให้ขยายเวลางานนิทรรศการไปอีกหนึ่งสัปดาห์ การแสดงของเราเป็น
ไฮไลท์ของงาน หวังว่าคุณจะมาชมการแสดงได้นะครับ คุณต้องมาเห็นด้วยตา
ตนเองว่า ผู้คนรู้สึกเสียใจจนน้ำตาไหล ที่ทราบว่าตั๋วจำหน่ายหมด เป็นเพราะ
ความรักของพวกเขาที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และนำพาพวกเขามาที่นี่"
คุณผุสชา โทณะวณิก ผู้ช่วยประธานฝ่ายประธานฝ่ายบริหารของJSL ได้กล่าวไว้
ว่า "เราพยายามเป็นอย่างมากที่จะถ่ายทอดคติธรรมที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ แต่ที่
จริงแล้วนั้นยากที่จะบอกเล่าเรื่องราวทั้งหมดในการแสดง 45 นาที
มีประเด็นหลักของเรื่อง 2 อย่างที่ถูกเลือกมาจัดแสดงบนละครเวที อย่างแรกคือ
การที่พระมหาชนก พยายามว่ายน้ำข้ามมหาสมุทร และอีกอย่างคือการที่พระมหา
ชนกเฝ้ามองดูประชาชนของตนทำลายต้นมะม่วงและพระองค์ตัดสินใจว่าจะออก
บวช การแสดงถูกแบ่งออกเป็น 9 องค์ เริ่มด้วยฉากที่เรือขนาดยักษ์ที่พระมหาชนก
โดยสารอยู่ออกจากท่าเรือเดินทางไปในมหาสมุทรก่อนที่พายุจะจมเรือ
คุณผุสชายังกล่าวต่อไปว่า"พื้นที่ทั้งหมดของอารีนาจะถูกดัดแปลงให้เป็น
มหาสมุทรโดยใช้เทคนิคแสงและเสียงอันทันสมัย ผู้ชมจะรู้สึกตื่นเต้นสุดขีด"
นายอัสดาวุธ เหลืองสุนทร นักแสดงผู้รับบทพระมหาชนกกล่าวว่า"สำหรับผมแล้ว
รู้สึกว่ายากและน่าประทับใจมากสำหรับฉากนี้ ผมต้องเชื่อมั่นว่ามือที่อยู่ด้านใต้นี่ไม่
ยอมให้ตัวผมร่วงหล่นลงไป"
การแสดงถูกแบ่งออกออกเป็น 9 องค์ ดังต่อไปนี้
องค์ 1 : เดินทางจากท่าเรือเป็นระยะทาง 700 โยชน์
พระมหาชนกทรงเดินทางข้ามมหาสมุทรไปยังเมืองมิถิลาด้วยเรือเดินสมุทร
ขนาดใหญ่ ในเวลานั้นพายุและคลื่นยักษ์ได้พังเรือ ทุกผู้คนจมน้ำกลายเป็นอาหาร
ของปลาและเต่ายกเว้นพระมหาชนก พระองค์เสด็จไปทรงยืนที่ยอดเสากระโดง
ทรงกำหนดทิศว่าเมืองมิถิลาอยู่ทิศนี้ก็กระโดดจากยอดเสากระโดงล่วงพ้นฝูงปลา
และเต่า จำเดิมแต่นั้นพระมหาชนกอยู่ในคลื่นซึ่งมีสีดังแก้วมณีเหมือนท่อนต้น
กล้วยทอง ข้ามมหาสมุทรด้วยกำลังพระพาหา
อุทกูปมสูตรที่ 5 (บุคคลเปรียบด้วยน้ำ 7 ประเภท)
1. จมลงไปครั้งเดียว จมไปเลย ได้แก่บุคคลผู้ประกอบไปด้วยอกุศลธรรมฝ่ายต่ำ
ล้วน (บาปชน)
2. โผล่ขึ้นแล้วจม ได้แก่บุคคลผู้มีคุณธรรม แต่คุณธรรมเสื่อมไป (ปุถุชน)
3. โผล่ขึ้นแล้ว ลอยอยู่ได้ ได้แก่ผู้มีคุณธรรมไม่เสื่อม (กัลยาณปุถุชน)
4. โผล่ขึ้นแล้ว เห็นแจ่มแจ้ง เหลียวดู ได้แก่พระโสดาบัน (ผู้แรกถึงกระแสธรรม)
5. โผล่ขึ้นแล้ว ว่ายเข้าหาฝั่ง ได้แก่พระสกทาคามี (ผู้มาสู่กามภพอีกครั้งเดียว)
6. โผล่ขึ้นแล้ว ไปถึงที่ตื้น หยั่งพื้นทะเลได้ ได้แก่พระอนาคามี
(ผู้ไม่มาสู่กามภพอีก)
7. โผล่ขึ้นแล้ว ข้ามฝั่งได้ ยืนอยู่บนบก ได้แก่พระอรหันต์
(ผู้ทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ)
องค์ 2 : ความพยายาม
พระมหาชนกทรงว่ายน้ำอยู่ในมหาสมุทรเป็นเวลา 7 วัน 7 คืน มีปูทะเลยักษ์คอย
ช่วยพยุงไม่ให้พระองค์ทรงจมลงในมหาสมุทร
"...สิ่งที่มิได้คิดไว้ อาจเกิดขึ้นได้ สิ่งที่คิดไว้ อาจพินาศไปก็ได้ ความร่ำรวย
ทั้งหลายของหญิงหริอชาย มิได้สำเร็จด้วยเพียงแค่เพียงคิดเท่านั้น"
"หลังจากได้กระโดดจากยอดเสากระโดงเรือ ลงทะเลพ้นปลาและเต่า ก็ว่ายข้าม
มหาสมุทร ได้พักผ่อนเป็นคราวๆ บางครั้งก็รู้สึกเหมือนเหยียบพื้นทะเลได้คล้ายๆ
ใกล้ถึงฝั่ง ดังเช่นบุคคลที่หกในจำพวกเจ็ดบุคคล (อุทกูปมสูตรที่ 5)"
อันที่จริงแล้ว ที่แท้เป็นปูทะเลยักษ์นั่นเองที่ช่วยพระองค์ นั้นเป็นเพราะบุญญาธิการ
แห่งความพากเพียรของพระองค์นั่นเอง
400 คนจากกองทัพไทยแสดงเป็นน้ำที่พระมหาชนกทรงแหวกว่ายอยู่
องค์ 3 : นางมณีเมขลา
ในกาลนั้นท้าวโลกบาลทั้งสี่มอบให้เทพธิดาชื่อมณีเมขลาเป็นผู้ดูแลรักษาสัตว์
ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยคุณ มีบำรุงมารดาเป็นต้น เป็นผู้ไม่สมควรจะตายใน
มหาสมุทร นางมณีเมขลามิได้ตรวจตรามหาสมุทรเป็นเวลาเจ็ดวัน เล่ากันว่านาง
เสวยทิพยสมบัติเพลิน ก็เผลอสติมิได้ตรวจตรา
บางอาจารย์กล่าวว่านางเทพธิดาไปเทวสมาคมเสีย นางคิดได้ว่า :
"วันนี้เป็นวันที่เจ็ดที่เราไม่ได้ตรวจตรามหาสมุทร มีเหตุอะไรบ้างหนอ"
เมื่อนางตรวจดู ก็เห็นพระมหาชนก จึงคิดว่า :
"ถ้ามหาชนกกุมารจักตายในมหาสมุทร ... เราจักไม่ได้เข้าเทวสมาคมเป็นแน่แท้"
องค์ 4 : ในมหาสมุทร
คิดฉะนี้แล้ว เธอจึงตกแต่งสรีระ สถิตอยู่ในอากาศอยู่ไม่ไกลจากมหาชนก เพื่อที่จะ
ทดสอบพระมหาชนก จึงได้กล่าวคาถาแรกว่า:
"นี่ใคร เมื่อแลไม่เห็นฝั่งก็อุตสาหพยายามว่ายอยู่ท่ามกลางมหาสมุทรท่านรู้อำนาจ
ประโยชน์อะไร จึงพยายามว่ายอยู่อย่างนี้หนักหนา"
ครั้งนั้น พระมหาชนกทรงดำริว่า:
"เราว่ายข้ามมหาสมุทรมาได้เจ็ดวันเช้าวันนี้ ไม่เคยเห็นเพื่อนของเราเลยนี่ใครหนอ
มาพูดกับเรา"
เมื่อแลไปในอากาศก็ทอดพระเนตรเห็นนางมณีเมขลา พระองค์จึงกล่าวคาถาที่สอง
ไปว่า :
"ดูก่อนเทวดา เราไตร่ตรองเห็นปฏิปทาแห่งโลก และอานิสงค์แห่งความเพียร
เพราะฉะนั้นถึงจะมองไม่เห็นฝั่งเราก็ต้องพยายามว่ายอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร"
นางมณีเมขลาปรารถนาจะฟังธรรมกถาจากพระมหาชนก จึงกล่าวคาถาอีกว่า:
"ฝั่งมหาสมุทรลึกจนประมาณไม่ได้ ย่อมไม่ปรากฏแก่ท่าน ความพยายามอย่าง
ลูกผู้ชายของท่านก็เปล่าประโยชน์ท่านไม่ทันถึงฝั่งก็จักตาย"
ครั้งนั้น พระมหาชนก ตรัสก้บนางมณีเมขลาว่า:
"ท่านพูดอะไรอย่างนั้น เราทำความพยายาม แม้ตายก็จักพ้นครหา"
ตรัสฉะนี้แล้ว จึงกล่าวคาถาว่า:
"บุคคลเมื่อกระทำความเพียร แม้จะตายก็ชื่อว่าไม่เป็นหนี้ในระหว่างหมู่ญาติ เทวดา
และบิดามารดา อนึ่ง บุคคลเมื่อทำกิจอย่างลูกผู้ชาย ย่อมไม่เดือดร้อนในภายหลัง"
เวลานั้น นางมณีเมขลาได้กล่าวต่อพระมหาชนกว่า:
"การงานอันใด ยังไม่ถึงที่สุดด้วยความพยายาม การงานอันนั้นก็ไร้ผล มีความ
ลำบากเกิดขึ้น การทำความพยายามในฐานะอันไม่สมควรใดจนความตายปรากฏขึ้น
ความพยายามในฐานะอันไม่สมควรนั้นจะมีประโยชน์อะไร"
เมื่อนางมณีเมขลากล่าวอย่างนี้แล้ว พระมหาชนกจึงกล่าวต่อนางมณีเมขลาให้นาง
ยอมจำนนต่อถ้อยคำอย่างสิ้นเชิง จึงได้ตรัสคาถาต่อไปว่า:
"ดูก่อนเทวดา ผู้ใดรู้แจ้งว่าการงานที่ทำจะไม่ลุล่วงไปได้จริงๆ ชื่อว่าไม่รักษาชีวิต
ของตน ถ้าผู้นั้นละความเพียรในฐานะเช่นนั้นเสีย ก็จะพึงรู้ผลแห่งความเกียจคร้าน
ดูก่อนเทวดา คนบางพวกในโลกนี้เห็นผลของความประสงค์ของตนจึงประกอบการ
งานทั้งหลาย การงานเหล่านั้นจะสำเร็จหรือไม่ก็ตาม ดูก่อนเทวดา ท่านก็เห็นผล
แห่งกรรมประจักษ์แก่ตนแล้วมิใช่หรือ คนอื่นๆ จมในมหาสมุทรหมด เราคนเดียวยัง
ว่ายข้ามอยู่ และได้เห็นท่านมาสถิตอยู่ใกล้ๆเรา เรานั้นจักพยายามตามสติกำลัง จัก
ทำความเพียรที่บุรุษควรทำ ไปให้ถึงฝั่งแห่งมหาสมุทร"
นางมณีเมขลาได้สดับพระวาจาอันมั่นคงของพระมหาชนกจึงกล่าวสรรเสริญด้วย
คาถาว่า :
"ท่านใดถึงพร้อมด้วยความพยายามโดยธรรม ไม่จมลงในห้วงมหรรณพ ซึ่ง
ประมาณมิได้เห็นปานนี้ ด้วยกิจคือความเพียรของบุรุษท่านนั้นจงไปในสถานที่ที่ใจ
ของท่านยินดีนั้นเถิด"
ครั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว นางมณีเมขลาได้ถามว่า"ข้าแต่ท่านบัญฑิตผู้มีความบาก
บั่นมาก ข้าพเจ้าจักนำท่านไปที่ไหน"พระมหาชนกตรัสตอบว่า"มิถิลานคร"นางจึง
อุ้มพระมหาชนกขึ้น ดุจคนยกกำดอกไม้ ใช้แขนทั้งสองประคองแนบทรวง พาเหาะ
ไปในอากาศ เหมือนคนอุ้มลูกรักฉะนั้น
พร้อมกันนั้นนางมณีเมขลาได้กล่าวคาถาเพิ่มเติมไปว่า:
"ข้าแต้บัญฑิต วาจาอันมีปาฏิหาริย์มิบังควรหายไปในอากาศ ท่านต้องให้สาธุชน
ได้รับพรแห่งโพธิญาณจากโอษฐของท่าน ถึงกาลอันสมควร ท่านจงตั้ง
สถาบันการศึกษา ให้ชื่อว่าโพธิยาลัยมหาวิชชาลัย ในกาลนั้นท่านจึงจะสำเร็จกิจ
ที่แท้"ฉากนี้ใช้สายสลิงจากฝรั่งเศสและผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยคอยดูแล
เรื่องการป้องกันอุบัติเหตุ
องค์ 5 : มิถิลานคร
ไม่มีกษัตริย์ในมิถิลานครเพราะพระโปลชนกเสด็จสวรรคต ฝ่ายปุโรหิตจึงได้ปล่อย
ราชรถ (ผุสสรถ) เพื่อเสี่ยงทาย ราชรถมาหยุดอยู่ที่พระมหาชนกผู้ที่นอนหลับใน
สวนมะม่วง พระมหาชนกจึงได้ครองเมืองมิถิลา พระมหาชนกได้ทำตาม
ทศพิธราชธรรมทั้งสิบประการได้ครบถ้วน ยังผลให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขเป็น
เวลานาน
องค์ 6 : มรรคา
พระมหาชนกประทับบนคอช้างเสด็จออกจากพระนครพร้อมด้วยราชบริพารเป็นอัน
มากจนมาถึงประตูพระราชอุทยาน ที่ใกล้ประตูพระราชอุทยานนั้น มีต้นมะม่วงสอง
ต้น มีใบเขียวชอุ่ม ต้นหนึ่งไม่มีผล ต้นหนึ่งมีผล ผลนั้นมีรสหวานเหลือเกิน ใครๆไม่
อาจเก็บผลจากต้นนั้น เพราะผลอันมีรสเลิศอันพระราชายังมิได้เสวย พระมหาชนก
ประทับบนคอช้างทรงเก็บเอาผลหนึ่งเสวย ผลมะม่วงนั้นพอตั้งอยู่ที่ปลายพระชิวหา
ของพระมหาชนกปรากฏดุจโอชารสทิพย์ พระมหาชนกทรงดำริได้ว่า"เราจักกินให้
มากเวลากลับ" แล้วจึงได้เสด็จเข้าสู่พระราชอุทยาน คนอื่นๆ มีอุปราช จนไปถึงคน
รักษาช้าง รักษาม้า รู้ว่าพระราชาเสวยผลมีรถเลิศแล้วก็เก็บเอาผลมากินกัน ฝ่ายคน
เหล่าอื่นยังไม่ได้ผลนั้นก็ทำลายกิ่งด้วยท่อนไม้ ทำเสียไม่มีใบ ต้นก็หักโค่นลง
มะม่วงอีกต้นหนึ่งตั้งอยู่งดงาม ดุจภูเขามีพรรณดังแก้วมณี พระมหาชนกเสด็จออก
จากพระราชอุทยาน ทอดพระเนตรเห็นดังนั้นจึงตรัสถามเหล่าอมาตย์ว่า:
"นี่มันอะไรกัน"เหล่าอมาตย์กราบทูลว่า "มหาชนทราบว่าพระองค์เสวยผลรสเลิศ
แล้ว ต่างก็แย่งกันกินผลมะม่วงนั้น"
พระมหาชนกตรัสถามว่า"ใบและวรรณะของต้นนี้สิ้นไปแล้ว ใบและวรรณะของต้น
นอกนี้ยังไม่สิ้นไป เพราะเหตุไร"อมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า"ใบและวรรณะของ
อีกต้นหนึ่งยังไม่สิ้นไปเพราะไม่มีผล"พระมหาชนกทรงสดับดังนั้น ได้เกิดความ
สังเวช ทรงดำริว่า:
"ต้นนี้มีวรรณะสดเขียวตั้งอยู่แล้วเพราะไม่มีผล แต่ต้นนี้ถูกหักโค่นลงเพราะมีผล แม้
ราชสมบัตินี้ก็เช่นกับต้นไม้มีผล บรรพชาเช่นกับต้นไม้หาผลมิได้ ภัยย่อมมีแก่ผู้มี
ความกังวล ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีความกังวล เราจักไม่เป็นเหมือนต้นไม้มีผล จักเป็น
เหมือนต้นไม้หาผลมิได้"
พระมหาชนกเสด็จกรับพระนคร เสด็จขึ้นปราสาท ประทับที่พระทวารปราสาท
ทรงมนสิการถึงวาจาของนางมณีเมขลาในกาลที่นางอุ้มพระมหาชนกขึ้นจาก
มหาสมุทร พระมหาชนกทรงจดจำคำพูดของนางมณีเมขลาไม่ได้ทุกถ้อยคำ เพราะ
พระสรีระเศร้าหมองด้วยน้ำเค็มตลอดเจ็ดวัน แต่ทรงทราบว่า นางมณีเมขลากล่าวชี้
ว่าพระองค์จะยังเข้ามรรคาแห่งความสุขไม่ได้ หากไม่กล่าวธรรมให้สาธุชนได้สดับ
องค์ 7 : การฟื้นฟูต้นมะม่วง
พระมหาชนกพระราชทานเก้าวิธีในการรักษาต้นมะม่วงที่ตายแล้ว ทุกผู้คนต่างทำ
ตามคำแนะนำอันมีค่า ต้นมะม่วงต้นนั้นจึงกลับมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง ด้วยวิธีการ
ดังต่อไปนี้;
1. เพาะเม็ดมะม่วง
2. ถนอมราก
3. ปักชำกิ่ง
4. เสียบยอด
5. ต่อตา
6. ทาบกิ่ง
7. ตอนกิ่งให้ออกราก
8. รมควันต้นที่ไม่มีลูก
9. ทำ "ชีวาณูสงเคราะห์"(การเพาะพันธุ์ในหลอดแก้ว)
องค์ 8 : การก่อตั้งปูทะเลมหาวิชชาลัย
นางมณีเมขลาเคยให้พระองค์ตั้งสถาบันการศึกษา ให้ชื่อว่าปูทะเลย์มหาวิชชาลัย
แม้ในกาลนั้นก็จะสำเร็จกิจ และได้รับมรรคาแห่งบรมสุข
พระมหาชนกทรงดำริว่า:
"ทุกบุคคล จะเป็นพ่อค้าวาณิช เกษตรกร กษัตริย์ หรือสมณะต้องทำหน้าที่ทั้งนั้น"
พระมหาชนกได้กล่าวกับพราหมณ์คนหนึ่งว่า"เมื่อนางมณีเมขลาอุ้มเราขึ้นจาก
ทะเล นางได้กล่าวว่า ท่านต้องทำให้สาธุชนได้รับพรแห่งโพธิญาณจากโอษฐ์
ของท่าน ถึงการอันสมควร ท่านจงตั้งมหาวิชชาลัย ในเวลานั้นเราเศร้าหมองด้วย
น้ำเค็มตลอดเจ็ดวัน"
พระมหาชนกกล่าวต่อไปอีกว่า"นับแต่อุปราช จนถึงคนรักษาช้างรักษาม้าและนับ
แต่คนรักษาม้าจนถึงอุปราช และโดยเฉพาะเหล่าอมาตย์ล้วนจาริกอยู่ในโมหภูมิ
ทั้งสิ้น พวกนี้ขาดทั้งความรู้วิชาการ ทั้งความรู้ทั่วไป คือความสำนึกธรรมดา พวกนี้
ไม่รู้แม้แต่ประโยชน์ส่วนตน พวกนี้ชอบผลมะม่วง แต่ก็ทำลายต้นมะม่วง"
พราหมณ์ท่านนั้นได้ยินแล้วจึงตอบว่า"พระราชาผู้เป็นบัณฑิต ข้าพระองค์ยังมีศิษย์
ที่ดีใว้ใจใด้และจะประดิษฐานปูทะเลย์มหาวิชชาลัยได้แน่นอน"
องค์ 9 : บทส่งท้าย
ทุกผู้คน นางมณีเมขลา และเทวดาอื่นๆ ต่างมาสรรเสริญชื่นชมยินดีต่อคุณงาม
ความดีที่แท้จริงของพระมหาชนก หลังจากนั้นพระองค์ตัดสินใจเข้าสู่มรรคาแห่ง
ความสุข
การแสดงที่น่าตื่นตาตื่นใจนี้ดัดแปลงมาจากเรื่องพระมหาชนก ผลงานทาง
วรรณกรรมชิ้นล่าสุดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชของประเทศ
ไทย ได้รับแรงบันดาลใจมาจากชาดกที่กล่าวถึงชาติก่อนๆ ของพระพุทธเจ้า เน้น
ในเรื่องความเพียรเพื่อเป็นตัวชี้นำเข้าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยการใช้ปริศนาธรรม
หนังสือเล่มนี้ถูกตีพิมพ์ในช่องการครองศิริราชสมบัติครบ 50 ปีของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว
มุมมองอันน่าสนใจเกี่ยวกับความพยายามของคนผู้หนึ่งซึ่งไม่รู้อนาคตเมือเรือ
อัปปางหรือเมือพระมหาชนกเห็นประชาชนของพระองค์ทำลายต้นมะม่วงและทุ่ม
เถียงกันจนพระองค์อยากจะออกบวช แล้วพระมหาชนกจึงนึกถึงการสนทนาระหว่าง
พระองค์กับนางมณีเมขลาว่า ยังไม่สามารถเข้าสู่มรรคาแห่งความสุขในตอนนี้ได้
พระองค์ดำริว่าทุกคนต้องทำหน้าที่ก่อน ทรงยืนหยัดอยู่เคียงข้างประชาชนชาว
มิถิลานครและช่วยแก้ปัญหาและความขัดแย้ง
การฟื้นฟูต้นมะม่วงเป็นแผนการต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่าของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงดูแลโครงการกว่า 3,000 โครงการทั่วประเทศ หลายๆ
โครงการถูกสร้างขึ้นมาแก้ไขปัญหาทางด้านเกษตรกรรม คำสอนของพระองค์ท่าน
ถูกรวบรวมอยู่ในสถาบันที่มีชื่อว่า ปูทะเลมหาวิชชาลัย นี่คือมหาวิทยาลัยสำหรับ
ทุกคน ที่เน้นในเรื่องธรรมชาติและการใช้ความรู้เพื่อประโยชน์สำหรับทุกคน
พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่อง พระมหาชนกนั้นเขียนขึ้นเมื่อ
ปี พ.ศ. 2520 -2531 และใช้เวลา 8 ปี สำหรับศิลปินชั้นนำของประเทศในการวาด
ภาพประกอบ และถูกตีพิมพ์จำหน่ายในปี พ.ศ. 2539 ในช่วงเฉลิมฉลองกาญจนา
ภิเษก ครบรอบ 50 ปีการครองศิริราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ปีนี้ พ.ศ. 2549 ปีเฉลิมฉลองการครองศิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงได้รับเกียรติจากองค์การสหประชาชาติรับมอบรางวัล
Human Development Lifetime Achievement Award นอกจากนี้ พระองค์ยัง
เคยได้รับรางวัล Health-for-All Gold Medal จากองค์การอนามัยโลก ในปี พ.ศ.
2535 และรางวัล the Food and Agriculture Organization's Agricola Medal ในปี พ.ศ. 2538
No comments:
Post a Comment